Trizit B

หน้า: (หน้าก่อน)  1 ...  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24 ...110   (ต่อไป)
โดย Trizit B - ศุกร์, 28 พฤศจิกายน 2008, 07:38AM
 

เมื่อคืนดูรายการชีพจรโลกของสิทธิชัย หยุ่น 

เจอนักประดิษฐ์ชาวญี่ปุ่นผู้มีผลงานสิทธิบัตรมากกว่า 3000 ชิ้น

เลยขอเอาข่าวและคลิปมาฝากกัน   เผื่อจะได้ลองถกเถียงกันดูว่า ความคิดสร้างสรรค์มาจาก DNA ของบรรพบุรุษจริงอย่างที่เขาพูดหรือไม่  และ ความคิดสร้างสรรค์จะแว๊บขึ้นมาเองในสมองจริงหรือไม่   ฟังดูแล้ว วิธีการสร้างสรรค์ความคิดของเขาไม่มีระบบที่ชัดเจนนัก  เหมือนเป็นการ ลองผิดลองถูก ( Trial and Error )  แต่ก็น่าชื่นชมว่า เขาใช้พลังงานสมองเป็นอย่างมาก แม้อายุจะใกล้ 80 แล้ว


นักประดิษฐ์กับความคิดหลุดโลก

มีชายชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งชื่อ ดร. โยชิโร นากามัตส์ เขาถ่ายภาพอาหารและวิเคราะห์อาหารที่กินทุกมื้อเป็นเวลาถึง 34 ปี จนได้รับรางวัล Ig Nobel ในสาขาโภชนาการเมื่อปี 2005

รางวัล Ig Noble ไม่ใช่รางวัลโนเบลที่เรารู้จักกันดี แต่เป็นรางวัลที่ล้อรางวัลโนเบลอีกที ในขณะที่รางวัลโนเบลนั้นจะมอบให้กับผู้ที่ประสบความสำเร็จในสาขาต่างๆ (ที่เรารู้จักกันดีก็คือสาขาสันติภาพ) ส่วนรางวัล Ig Nobel มอบให้กับคนที่ประสบความสำเร็จในการ “ทำให้ผู้คนหัวเราะในตอนแรก และเกิดความคิดตามมา” รางวัลนี้จัดโดยนิตยสาร AIR (Annals of Improbable Research) และมีพิธีมอบรางวัลกันที่โรงละครแซนเดอร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

ยิ่งไปกว่านั้น ชายชาวญี่ปุ่นผู้นี้ยังเป็นคนที่ไม่ยอมศิโรราบให้กับความรำคาญของตัวเองเขาที่มีต่อเสียงรบกวนจากฝุ่นละอองซึ่งเกาะอยู่ตามร่องแผ่นเสียงขณะฟังเพลงของบีโธเฟน จนทำให้เขาคิดวิธีแก้ปัญหาง่ายๆ ด้วยการประดิษฐ์เครื่องบันทึกข้อมูล (เสียง) ที่มีคุณภาพดีกว่าขึ้นมา หรือที่เรารู้จักมันในนาม “ซีดี”

แม้ว่าประดิษฐกรรมที่สำคัญกับชนชาวโลกอย่างซีดีจะทำให้คนทั่วโลกที่หลงใหลในเสียงเพลงต้องติดหนี้บุญคุณชายผู้นี้ แต่นั่นก็ไม่ใช่งานประดิษฐ์ชิ้นแรกของเขา เพราะความจริงก็คือ ดร. นากามัตส์เริ่มประดิษฐ์คือเครื่องบินจำลองอันเป็นงานประดิษฐ์ชิ้นแรกของเขาตั้งแต่อายุห้าขวบ ไม่กี่ปีถัดมา เมื่อเห็นแม่ของเขาลำบากลำบนกับการดูดน้ำมันก๊าดขึ้นจากถัง เขาจึงคิด “ที่ปั๊มอัตโนมัติ” ขึ้นมา กระทั่งแม่ของเขาซึ่งเป็นครูเริ่มเห็นแววนักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่ในตัวของเด็กชายนากามัตส์ จึงได้กระตุ้นให้เขาสร้างแบบจำลองขึ้นและช่วยในการจดสิทธิบัตรความคิดต่างๆ ของเขาจากนั้นมา

ไม่น่าแปลกใจกับความจริงที่ว่า ดร. นากามัตส์ได้รับการยอมรับอย่างสูงในฐานะนักประดิษฐ์ตั้งแต่สมัยยังเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยโตเกียว โดยมีผลงานชิ้นสำคัญคือ ฟล็อปปี้ดิสท์ ซึ่งเขาได้ขายลิขสิทธิ์ในการผลิตให้กับ IBM

จากสถิติของกินเนสบุคส์ ดร. นากามัตส์ มีสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการจดทะเบียนกว่า 3,200 ชิ้น หรือมากกว่าโทมัส เอดิสันเกือบ 3 เท่า โดยสิ่งประดิษฐ์ของเขาซึ่งมีตั้งแต่ฟล็อบปี้ดิสท์ ซีดี ดีวีดี นาฬิกาดิจิตัล กล้องซีนีมาสโคป ไปจนถึงมิเตอร์สำหรับรถแท็กซี่ ล้วนแล้วแต่เกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันของเรา

สิ่งที่น่าสนใจไม่น้อยไปกว่ากันก็คือ วิธีการที่ชายผู้นี้ใช้ในการคิดงาน ด้วยวิธีการดำน้ำโดยไม่ใช้ถังอ๊อกซิเจนให้นานที่สุดจนกว่าจะเกิดไอเดียขึ้นมา และเมื่อขึ้นจากน้ำ สิ่งแรกที่เขาทำก็คือการจดความคิดลงบนแผ่น Plexiglas (วัสดุคล้ายแก้ว) และแม้จะมีผู้คนมากมายถามเขาถึงอันตรายจากวิธีการสุดเสี่ยงในการคิดค้นงานประดิษฐ์แบบนี้ แต่ดร. นากามัตส์ก็มักจะตอบว่า วิธีการคิดงานแบบนี้แม้ว่าจะอันตราย แต่ความตายกลับไม่ใช่ส่วนหนึ่งในงานวิจัยของเขา ดังนั้นเขาจึงยังคงเลือกที่จะอยู่ใต้น้ำ และปล่อยให้ความคิดต่างๆ นานาหลุดลอยขึ้นมาเหนือผิวน้ำอยู่เสมอ

ดร. นากามัตส์ไม่สนใจว่าใครจะหาว่าเขาประหลาด ทั้งยังสนุกกับการเรียกตัวเองว่า “ชายวัยกลางคน” ทั้งๆ ที่มีอายุถึง 80 ปีแล้ว นั่นก็เพราะเขามีเป้าหมายที่จะอยู่ให้ได้ถึง 140 ปี!

หมายเหตุ: พบกับการบรรยายโดย ดร. โยชิโร นากามัตส์ ในงานชุมนุมทางความคิดประจำปี “Creativities Unfold, Bangkok 2008 Connecting Dots – Business : People : Culture” ซึ่งจัดโดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ระหว่างวันที่ 3 – 5 ตุลาคม 2551 ภายในงานพบกับการผนึกกำลังของสุดยอดนักคิด นักออกแบบ และผู้บริหารธุรกิจหลายแขนงจากทั่วทุกมุมโลกที่จะมาร่วมระดมความคิดและแลกเปลี่ยนนานาทัศนะ พร้อมรับฟังกรณีศึกษาที่สร้างแรงบันดาลใจ ตลอดจนแนวทางที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นผลงานได้จริง
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่www.creativitiesunfold.com

http://www.tcdc.or.th/articles.php?act=view&id=47

Dr. Yoshiro NakaMats / Inventer

A Japanese inventor claiming to hold the world record for number of inventions with over 3,000, Dr. Yoshiro NakaMats’ properties include "PyonPyon" spring shoes as well as the basic technology for the floppy disk, the CD, the DVD, the digital watch, CinemaScope, and the taxicab meter. Nakamatsu has licensed about a dozen of his patents related to the floppy disk technology to IBM Corporation in 1979, but the details of the arrangement are confidential. He was awarded the 2005 Ig Nobel prize for Nutrition, for photographing and retrospectively analyzing every meal he has consumed during a period of 34 years.

The Nakamatsu’s method of invention involves diving underwater without an oxygen tank or snorkel and staying below the surface for as long as possible until an idea bubbles up. Upon resurfacing, he then writes down the idea on a dripping-wet Plexiglas tablet. When asked if all that underwater breathing was dangerous to his health, he said yes, but that dying was not part of his research.

NakaMatsu doesn’t mind being called eccentric. He is a graduate of the University of Tokyo and completed a doctorate program in engineering. Now seventy-eight years old, NakaMatsu refers to himself as a middle-aged man, thanks to his theory of longevity, which emphasizes equal attention to five basic elements: spirituality, food and drink, muscle training, sleep, and sex.


โดย Trizit B - พฤหัสบดี, 27 พฤศจิกายน 2008, 04:05PM
 

ได้แวะไปเยี่ยมชมเว็บของสมาคมการประดิษฐ์ไทย มาแล้วครับ   ดีใจที่มีผู้สนใจในเรื่องการประดิษฐ์คิดค้นเพิ้มมากขึ้นเรื่อยๆ     วันก่อน ก็ได้รับวารสารนวัตกรรมจากโรงพยาบาลราชวิถึ   ต้องชมว่า เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของเรามีความกระตือรือล้นมาสร้างสรรค์นวัตกรรมขึ้นมาเองแทนที่จะต้องซื้อของแพงๆจากต่างประเทศ

เรื่องอุปกรณ์เรียกคนช่วยตามกระทู้ที่ตั้งมานั้น  ของปู่เย็น อาจจะต้องใช้วิธีจุดพลุให้คนเห็นแต่ไกล  แต่ผู้ช่วยต้องวางระบบที่รู้กันนะครับ  ไม่เช่นนั้น ก็ตายอยู่ดี  ถ้าคนเห็นเป็นเพียงแค่ดอกไม้ไฟที่สวยงาม

แต่เรื่องนี้  ก็เป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะกับบ้านที่มีผู้ป่วยอยู่ในบ้าน  ยกตัวอย่างชัดๆที่เกิดกับตนเอง    วันก่อนอาม่าที่ไปผ่าตัดหัวใจกลับมาอยู่บ้าน เลื่อนไถลตกเตียงขณะจะลุกขึ้นมาทำธุระ   ไม่เจ็บมาก  แต่ก็ลุกไม่ขึ้น   เรียกให้หลานชายมาช่วยพยุงขึ้น   แต่หลานชายก็ไม่ได้ยิน    เพราะมัวฟังเพลงเล่นเน็ตอยู่หลังบ้าน   ก็เลยต้องนั่งแช่กับพื้นอยู่เป็นเวลานาน   โชคดีที่ไม่เป็นอะไรมาก    เลยต้องพยายามคิดหาเครื่องมือเรียกคนช่วยตามกระทู้ที่ตั้งไว้นี้เลย   จะทำอ็อดเรียกแบบโรงพยาบาล   ก็ยังไม่เจอแบบที่เขาขายสำเร็จรูป   บังเอิญได้ไอเดียจากอ็อดหน้าบ้านที่มันเสีย   เคยหาอ็อดนิ้งหน่องมาเปลี่ยนใหม่ก็ดังไม่หยุด  เข้าใจว่าสายไฟลัดวงจรอยู่ใต้ดิน   จะรื้อสายเดินใหม่ก็งานใหญ่   เลยไปหาแตรซาเล้งมาติดไว้หน้าบ้านแทนเป็นการแก้ขัดไปก่อน   พร้อมเขียนป้ายบอกว่า อ็อดเสียให้บีบแตร  และ เขียนใส่อีกด้านหนึ่งไว้ว่า ระวังหมาดุ เผื่อวันที่ไม่มีใครอยู่บ้าน  จะได้พลิกกลับด้าน

ก็เลยใช้ไอเดียเดียวกันนี้ หาแตรซาเล้งให้อาม่าใช้เป็นการแก้ขัดไปก่อน   ไม่เปลืองถ่าน   ไม่อันตรายจากไฟช็อต  และได้ออกกำลังกายไปในตัว ช่างคิด

คุณ สมนึก ลิมกุล  มีไอเดียอย่างอื่นดีๆ  น่าจะออกแบบมาขายนะครับ   คิดว่าน่าจะมีประโยชน์   ถ้าให้ไฮเทคหน่อย  ก็อาจทำเป็นปุ่มกด หรือ เชือกดึง  แล้วสัญญานจะถูกส่งเข้าโทรศัพท์มือถือได้เลย  เผื่อในกรณีที่อยู่ไกลบ้าน



โดย Trizit B - พฤหัสบดี, 27 พฤศจิกายน 2008, 03:10PM
 

ลองพยายามใช้ Substance-Field Analysis วิเคราะห์ปัญหาตามที่อาจารย์ธนะศักดิ์แนะนำ  จะเป็นแนวทางที่ทำปัญหาให้กระจ่างได้ดีที่สุดครับ

ไม่ทราบว่า ระบบเดิมได้มีการพยายามแยกดินทรายออกจากมันสับหรือยัง  ถ้ามี  ก็เป็นโมเดลของระบบที่ยังทำงานไม่มีประสิทธิภาพ  ต้องใช้คำตอบมาตรฐานแบบ improve useful function ให้ระบบมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ถ้าระบบเดิมไม่มีการแยกดินทรายออกจากมันสับ   ก็ต้องวิเคราะห์ว่า  ดินทรายมันติดมาได้อย่างไร  เป็นโมเดลของระบบที่ยังทำงานแบบมีผลกระทบที่เป็นอันตราย  ต้องใช้คำตอบมาตรฐานแบบ  eliminate harmful function ให้หมดไป

ให้คุณลองเขียนโมเดลตั้งต้นที่เป็นปัญหา   และไอเดียในการแก้ไขปรับปรุงโมเดลมาลองแลกเปลี่ยนความเห็นกันดูนะครับ  อาจได้คำตอบที่นำไปแก้ปัญหาได้

เช่น  อาจใช้สนามแรงโน้มถ่วงแยกดินทรายออกจากมันสับได้ไหม

หรือ อาจเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เป็นน้ำแทนอากาศ   โดยใช้น้ำช่วยเป็นตัวอุ้มมันสับให้ลอย  ในขณะที่ดินทรายจมลงสู่ใต้น้ำด้วยสนามแรงโน้มถ่วง


โดย Trizit B - ศุกร์, 21 พฤศจิกายน 2008, 03:50PM
 

ตัวอย่างกรณีศึกษาเรื่องตะปูเรือใบ

ดูเพิ่มเติมได้ที่
http://www.bangkaew.org/elearning/mod/forum/discuss.php?d=86



โดย Trizit B - ศุกร์, 21 พฤศจิกายน 2008, 03:48PM
 
กลุ่มอื่นบ้าง

หน้า: (หน้าก่อน)  1 ...  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24 ...110   (ต่อไป)