Separation Principle and Matrix
โดย Wison Bunsangsuk - เสาร์, 18 พฤศจิกายน 2006, 04:56PM
 

Technical Contradiction แก้โดยใช้ 40 Principles

Physical Contradiction แก้โดยใช้ Separation Principle

ผมศึกษา TRIZ แบบมวยวัด จึงมีข้อไม่เข้าใจอยู่มาก รบกวนสอบถามอาจารย์หรือผู้รู้หน่อยครับ  ขอบคุณครับ

1. Separation in Time กับ Separation on Condition ต่างกันยังไงครับ ทำไมบางครั้งผมมองว่า มันเป็น time ก็ได้ หรือเป็น condition ก็ได้ เช่น ข้อหมวกกันน็อค หรือเรื่องพัดลม

2. พอแยกแยะว่าเป็น separation ชนิดไหนได้ถูกต้อง แล้วไงครับ อัลต์ชูลเลอร์ มีระบุไหมครับว่า standard method หรือ principle ข้อไหนใช้กับ separation ชนิดไหน

เคยเห็นแต่การแก้ปัญหาโดยพยายามเจาะลึก separation priciple ลงไปอีกว่าจริงๆมันเป็น technical contradiction ชนิดใดแฝงอยู่ เป็น case ๆ ไป แล้วค่อยใช้ technical contradiction Matrix (ทั้ง classical หรือ new Matrix) มาหาว่า solution ควรเป็น Principles ข้อไหน

ถ้าอย่างนั้น separation 4-5 ชนิดนั้น ก็เป็นเรื่องไร้ประโยชน์

สมมติว่ากันตาม classical TRIZ นะครับ  เนื่องจาก solution ทาง engineering ใดๆในโลกเกือบทั้งหมด สามารถนำมาจัดให้อยู่ใน 40 priciples ได้ ดังนั้น น่าจะมีการทำเป็น matrix ว่า Separation X กับ Parameter Y (เช่น weight/ area/ length/ volume/ temperature/ strength....) ควรจะใช้ 40 principles ข้อใด  

ดูตัวอย่างที่ผมเคยประมวลเอาไว้ในข้อหมวกกันน็อค เรื่อง separation in time กับ Volume น่าจะพอเข้าใจไอเดีย  ซึ่งแนวทางนี้ ไม่ใช่การ revise technical contradiction Matrix ให้ดีขึ้นแบบ Matrix 2003

หรือว่ามีคนทำแล้ว  ถ้ามีใครทราบช่วยเล่าให้ฟังหน่อยครับ จะได้ขอศีกษาด้วย (ลอก copying) ขี้เกียจทำคนเดียว

ตอบ: Separation Principle and Matrix
โดย Trizit B - อังคาร, 21 พฤศจิกายน 2006, 09:09AM
 

ขอตอบครับ

คำถามนี้  ค่อนข้างยาก   อาจหาคนร่วมแสดงความเห็นได้ไม่ง่ายนัก

คุณวิสันต์ก็อย่าเพิ่งท้อใจนะครับ  คงต้องค่อยๆสร้างกระแสความสนใจไปเรื่อยๆจนกว่าจะมีทรัพยากรมากเพียงพอที่คนพร้อมจะออกมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกัน

ตอนผมทำเว็บชุมชนคนรักบางแก้วใหม่ๆ  ก็คุยกันอยู่ไม่กี่คนครับ    เวลาผ่านไป 3 ปี   มีสมาชิกร่วม 3,000 คน  และมีอยู่ประมาณ 5 % ที่มาร่วมพูดคุยอย่างกระตือรือล้น   เพียงเท่านี้(ประมาณ 100 กว่าคน)  ก็สามารถสร้างความคึกคักให้กับชุมชนคนรักบางแก้วได้แล้ว   ยังไม่นับผู้ที่แวะมาเยี่ยมเป็นครั้งคราว  หรือ  แอบอ่านอยู่เงียบๆโดยไม่ล็อกอิน อีกมาก   ลองแวะไปชมได้ที่ http://www.bangkaew.com/elearning/

เรื่อง Separation in Time กับ Separation on Condition ต่างกันยังไงครับ
ตอบ  Separation in Time  จะแบ่งแยกตามเวลาจริงๆ  เช่น สัญญานไฟจราจร  จะช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งเชิงกายภาพเรื่องอยากให้รถวิ่งกับไม่อยากให้รถวิ่ง
Separation on Condition จะแบ่งแยกตามเงื่อนไขการใช้งาน เช่น เข็มขัดนิรภัย จะช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งเชิงกายภาพเรื่องอยากให้เข็มขัดลื่นและฝืด   มองไปก็อาจคล้ายเวลาอยู่บ้าง   คือเวลาใช้งาน  ตอนดึงมาสวม ต้องลื่น   ตอนรถชน ต้องฝืด

ตอบ: Separation Principle and Matrix
โดย Trizit B - อังคาร, 21 พฤศจิกายน 2006, 09:50AM
 

เรื่อง น่าจะมีการทำเป็น matrix ว่า Separation X กับ Parameter Y (เช่น weight/ area/ length/ volume/ temperature/ strength....) ควรจะใช้ 40 principles ข้อใด น่าสนใจมากครับ เท่าที่ทราบ ตอนนี้ยังไม่มี คงรอนักประดิษฐ์เมืองไทยคิดประดิษฐ์ขึ้นมา ช่างคิด

ในหนังสือ Matrix 2003 นั้น เขาพยายามปรับปรุงเพิ่มเติม Technical contradiction Matrix จาก 39x39 เป็น 48X48 และ ขยายหลักการในการแก้ปัญหา 40 ข้อ เพิ่มอีกหลายสิบข้อ แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่หลักการใหม่อะไร เป็นเพียงเอาหลักการ 40 ข้อเดิมมา combine ขึ้นเป็นหลักการใหม่ แต่สิ่งที่หน้าสนใจอีกจุดหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ก็คือ สำหรับคนที่หาคู่ความขัดแย้งไม่เจอ หรือขี้เกียจหาคู่ความขัดแย้ง เพียงแต่รู้ว่าอยากจะปรับปรุง Parameter ใด ก็ให้ไปดูรายละเอียดของ Parameter นั้น ก็จะพบแนวทางหรือหลักการในการแก้ปัญหาที่ผู้เขียนได้จัดเตรียมไว้ให้ แต่อาจจะค่อนข้างกว้าง ไม่เฉพาะเจาะจงเหมือนใช้ Technical Contradiction Table

ลูกศิษย์ของอัลต์ชูลเลอร์หลายคนได้พยายามปรับปรุง TRIZ ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น และ ใช้แก้ปัญหาได้หลากหลายมากขึ้น เช่น บริษัท Ideationtriz ได้สร้างตัวดำเนินการ (Operators) ขึ้นมาใช้แก้ปัญหา ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

1

ตัวดำเนินการปรับปรุงฟังก์ชันที่ก่อให้เกิดประโยชน์

2

ตัวดำเนินการหลีกเลี่ยงฟังก์ชันที่ก่อให้เกิดผลเสีย

3

ตัวดำเนินการจากหลักการของการแบ่งแยก

ในที่นี้  จะเอาเฉพาะตัวอย่างบางส่วนของตัวดำเนินการจากหลักการของการแบ่งแยก มาให้ศึกษาเป็นแนวทาง   คงตรงกับที่คุณวิสันต์ถามมาอยู่บ้าง

1) การใช้งาน

เป็นตัวดำเนินการสำหรับใช้เปลี่ยนสภาพปัญหาไปสู่สภาพที่ต้องการหรือเข้าใกล้ในทิศทางนั้น โดยการแก้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างองค์ประกอบของสภาพปัญหานั้น

.....

2) แนวคิดและเนื้อหาของหลักการของการแบ่งแยก

กลุ่ม

แนวคิด

ตัวดำเนินการ

คำอธิบายเพิ่มเติม

1

พื้นที่

แบ่งแยกองค์ประกอบที่ขัดแย้งกันโดยใช้มุมมองของพื้นที่

1-1

แบ่งแยกโดยพื้นที่

แยกองค์ประกอบ ฟังก์ชันและเงื่อนไขที่ขัดแย้งกันให้ไปอยู่ในพื้นที่แตกต่างกัน

1-2

กำจัดส่วนที่เป็นปัญหา

แยกส่วนที่เป็นปัญหาออกไปจากส่วนอื่นๆ ของระบบ

1-3

กำจัดองค์ประกอบที่เป็นปัญหา

แยกองค์ประกอบ (ฟังก์ชัน ชิ้นส่วน) ที่จำเป็นสำหรับการกระทำที่ก่อให้เกิดประโยชน์ออกไปจากส่วนอื่นๆ ของระบบ

1-4

สู่มิติอื่น

เปลี่ยนแปลงรูปร่างของระบบโดยใช้มิติอื่นที่ยังไม่ได้ใช้

1-5

ใช้ตุ๊กตาซ้อน

สอดใส่เข้าไปในวัสดุอย่างอื่น

1-6

ผ่านทะลุ

เคลื่อนที่ผ่านพื้นที่ของวัสดุอย่างอื่น

2

เวลา

แบ่งแยกองค์ประกอบที่ขัดแย้งกันโดยใช้มุมมองของเวลา

2-1

แบ่งแยกโดยเวลา

แยกองค์ประกอบ ฟังก์ชัน และเงื่อนไขที่ขัดแย้งกันให้ไปอยู่ในเวลาที่แตกต่างกัน

2-2

กระทำล่วงหน้า

เตรียมการล่วงหน้าให้ฟังก์ชันทำงานในเวลาที่ต้องการ

2-3

กระทำภายหลัง

ให้การกระทำที่จำเป็นเกิดขึ้นภายหลังกระบวนการที่เป็นเป้าหมาย

2-4

ตัดขาด

แบ่งแยก (ตัดขาด) การกระทำที่ต่อเนื่อง เพื่อใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน

2-5

เปลี่ยนแปลง (เคลื่อนไหวได้)

เปลี่ยนรูปของระบบในเวลาที่จำเป็น

2-6

จัดการโดยเร็ว

ดำเนินการจัดการกับการกระทำที่ก่อให้เกิดผลเสียอย่างรวดเร็ว เพื่อเปลี่ยนแปลงผลกระทบ

3

โครงสร้าง

แบ่งแยกองค์ประกอบที่ขัดแย้งออกจากกันในเชิงโครงสร้าง

3-1

ทั้งหมดกับบางส่วน

แบ่งแยกองค์ประกอบ ฟังก์ชัน หรือเงื่อนไขที่ขัดแย้งกันออกจากกันโดยดูจากทั้งหมดและบางส่วน

3-2

2 ระบบ

แบ่งระบบออกเป็น 2 ระบบ

3-3

ไม่สมมาตร

ทำลายความสมมาตรของระบบให้หมดไป แล้วแบ่งปันองค์ประกอบ ฟังก์ชัน หรือเงื่อนไขที่ขัดแย้งกันไปสู่ส่วนทั้ง 2

3-4

ตัวช่วย

แบ่งปันองค์ประกอบฟังก์ชัน หรือเงื่อนไขที่ขัดแย้งกันด้านหนึ่งด้านใดให้กับตัวช่วย

3-5

ตัวกลาง

ใช้ตัวกลางในการส่งส่งผ่านพลังงานหรือการกระทำ

3-6

ตัวตายตัวแทน

ห่อหุ้มส่วนที่จะได้รับความเสียหายด้วยวัสดุที่จะก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบ

3-7

แบบจำลอง

แบ่งปันองค์ประกอบ ฟังก์ชัน หรือเงื่อนไขที่ขัดแย้งกันด้านใดด้านหนึ่งให้กับแบบจำลอง หรือของเลียนแบบ

3-8

ผสมผสาน

เพื่อแก้ความขัอแย้งให้สร้างความสัมพันธ์ที่มีประสิทธิผลระหว่างองค์ประกอบ

3-9

กระทำเป็นจังหวะ

เปลี่ยนการกระทำอย่างต่อเนื่องให้เป็นการกระทำอย่างเป็นจังหวะ และเปลี่ยนการกระทำอย่างเป็นจังหวะให้เป็นการกระทำอย่างรีโซแนนซ์

4

เงื่อนไข

แบ่งแยกองค์ประกอบที่ขัดแย้งออกจากกันในเชิงเงื่อนไข

4-1

แยกตามเงื่อนไข

เพื่อแก้ความขัดแย้งขององค์ประกอบ ฟังก์ชัน หรือเงื่อนไข ให้หาเงื่อนไขที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

4-2

พลังงานอื่น

เพื่อแก้ความขัดแย้งขององค์ประกอบ ฟังก์ชันหรือเงื่อนไข ให้ใช้พลังงานแบบอื่นดู

4-3

เปลี่ยนพลังงาน

เพื่อให้ได้พลังงานที่สามารถแก้ความขัดแย้งขององค์ประกอบ ฟังก์ชัน หรือเงื่อนไข ให้ลองเปลี่ยนพลังงานไปเป็นรูปแบบอื่นดู

ตอบ: Separation Principle and Matrix
โดย Tanasak Pheunghua - อังคาร, 21 พฤศจิกายน 2006, 11:54PM
 

กัดฟันเข้ามาอ่านบ่อยครับ แต่ช่วงนี้เวลาจำกัด

คำถามข้อนี้น่าสนใจ

เพราะเท่าที่ผมศึกษา มาบางตำรา(เวลาน้อย แต่พอแบ่งมาคิดได้ตอนขับรถครับ) ไม่เขียนคำว่า Separation on Condition

อย่ามองเป็นคำตอบนะครับ ขอเป็นแชร์ข้อมูลเพิ่มเติมดีกว่า

1 ในบางตำราใช้คำว่า Fundamental transformation แทน Separation principle และระบุการใช้สำหรับ Physical contradiction เช่นกัน

2 คำขยายความของ Separation in time

Separate potentially conflicting properties in time,Try to regard any process as discontinuous. Find time intervals in which the potentially conflicting operations can be performed

ลองแปลแล้วพอมองเห็นความต่างกับ Separation on Condition บ้างนะครับ

3 เฉพาะ Separation Principle อีกค่ายจะมีอีก 2 อย่างคือ

Fundamental transformation in Structure อันนี้เหมือน Separation on parts and the Whole คล้ายๆเรื่องโซ่จักรยานที่ต้องเป็นSolid และ Flexibleในตัว

และ Fundamental transformation in Material อันนี้ใกล้ Separation on Condition มากตัวอย่างเช่น

เลนส์แว่นตาที่เปลี่ยนสีเมื่อเจอแสงจ้า และกลับมาเป็นเลนส์ใสเมื่อเข้าที่ร่ม หรืออีกตัวอย่าง เป็นเรื่องของแสงแฟลชกับอาการ Redeye ในเรื่องนี้ใช้การแก้ไขโดยให้มีแสงแฟลชนำ ก่อนแฟลชจริง แฟลงนำจะปรับม่านตาคนให้เล็กลง เป็นการลดอาการ Redeye

จะมองเป็น Fundamental transformation in Material หรือ Separation on Condition ดีครับ

ผมคิดเอาเองว่า มีความไม่เข้าใจในแต่ละขั้นตอนการแปล

แม้กระทั่งลูกศิษย์ Altshuller เอง

ให้ลองแปลคำว่า Separation vs. Fund. Transformation ดู

สองคำนี้เหมือนจะเกิดคนละเวลา

ถ้าไม่ยึดหลักการ การใช้ Separation หรือ Transformation ก็แก้ Physical Contradiction ได้เช่นกัน

พรุ่งนี้จะมาเล่าอีก 9 หลักการที่ไม่ใช่ Separation & Transformation และใช้แก้ Physical Contradiction ได้ครับ

หลายหลักการใน Separation ผมพบว่าลูกศิษย์ (คือไม่แน่ใจว่า Altshuller หรือลูกศิษย์มาแปลง) ได้Link ความสัมพันธ์ไว้กับ Technical Contradiction เรียบร้อยแล้ว

ส่วนตัวผมพบว่าบางครั้ง Separation Principle ใช้ได้แบบ Stand alone โดยไม่ต้องใช้ Matrix  ก็ได้นะครับ

ตอบ: Separation Principle and Matrix
โดย Wison Bunsangsuk - เสาร์, 25 พฤศจิกายน 2006, 10:54PM
 

ขอขอบคุณทุกความคิดเห็น และความพยายามในการพิมพ์อย่างมากครับ

แต่ก็ยังไม่เคลียร์อยู่ดีสำหรับคำถามข้อแรก เนื่องจากตัวอย่างที่ยกมาก็เป็นตัวอย่างซ้ำๆที่เคยเห็นมาแล้ว  ซึ่งอันที่จริง ตัวอย่างของการใช้ separation รู้สึกว่าจะมีไม่ค่อยมากนัก

ผมคิดว่านี่เป็นปัญหาอย่างหนึ่งของการเรียนรู้ TRIZ

เนื่องจาก TRIZ พยายามสร้างวิธีแก้ปัญหาแบบ universal  ดังนั้นจึงต้อง define term ต่างๆให้เป็น generic ที่สุด

ผลเสียก็คือความยากลำบากในการศึกษา TRIZ ในการเข้าใจความหมายและการประยุกต์ generic term เหล่านั้นให้สอดคล้องกับ specific problem ของเรา

คิดว่าทางออกหนึ่งของผู้สอน TRIZ คือการถ่ายทอดเป็น example เพื่อล่อใจก่อน

แต่ผลเสียที่ตามมาคือ ผู้ศึกษาจะยึดติดกับตัวอย่างนั้นมากเกินไป (เพราะง่าย) และไม่พยายามศึกษาทำความเข้าใจ generic term อย่างที่ผู้สอนตั้งใจ

ผมเองก็เป็นหนึ่งในสมาชิกนั้นด้วย จึงยังคงอ่อนหัดอยู่แบบนี้

หลังจากที่ยังงงๆ ก็เลยกลับไปนั่งดู example มากที่สุดเท่าที่จะหาได้ และพยายามนึกตัวอย่างใหม่ๆ แล้วพยายามเชื่อมโยง (เอาเอง) ว่า  separation in time กับ condition มันต่างกันยังไง   ก็พอได้ข้อสรุปดังนี้

ขอออกตัวก่อนว่าเป็นแค่ความคิดส่วนตัวเท่านั้นนะครับ อาจจะผิดไปบ้าง ผู้ใดเห็นข้อผิดพลาดกรุณาชี้แนะด้วย ขอบคุณครับ

separation in time กับ on condition มันมีส่วนที่คาบเกี่ยวกันอยู่
- ถ้าเวลาที่ทำให้เกิด contradiction property ทาง user หรือตัวระบบ สามารถกำหนดได้แน่ชัดไปเลยว่า เมื่อไหร่จะต้องการ property A และเมื่อไหร่จะต้องการ property B  อันนี้เป็น Time  แต่ถ้ากำหนดไม่ได้ คือไม่รู้ว่าจะเกิดเมื่อไหร่ ก็เป็น condition แหงๆ
- ถ้าสามารถระบุ input factor (parameter,property,attribute) ที่จะทำให้เกิด contradiction property ได้ (factor ไหนจะต้องการ property A, factor ไหนจะต้องการ property B) ก็จะเป็นแบบ condition    แต่ถ้าระบุไม่ได้ ก็เป็น time แหงๆ
- ในบางกรณีที่ user หรือตัวระบบ สามารถกำหนดได้ว่า ต้องการ contradiction property เมื่อไหร่บ้าง แถมยังระบุ input factor ที่ทำให้เกิดได้อีกด้วย อันนี้ ก็เป็นได้ทั้ง time และ condition   เราสามารถใช้ separation in time หรือ on condition มาใช้แก้ปัญหาได้ แต่คงได้คำตอบไม่เหมือนกัน
- ถ้านอกเหนือจากนั้น ก็กลับไป define ปัญหาใหม่ ว่ามันเป็น physical contradiction หรือไม่

อธิบายตามรูป set แล้วกัน
ส่วน 1 คือเป็น condition แหงๆ คือ   user หรือตัวระบบ กำหนดไม่ได้ว่าจะเกิด input factor ที่ทำให้เกิด contradiction property เมื่อไหร่
ส่วน 3 คือเป็น time แหงๆ คือ  user หรือตัวระบบ กำหนดได้ว่าเมื่อไหร่บ้างที่ต้องการ contradiction property  แต่ไม่สามารถระบุ input factor ได้
ส่วน 2 คือเป็นได้ทั้ง time และ  condition


ตอบ: Separation Principle and Matrix
โดย Wison Bunsangsuk - เสาร์, 25 พฤศจิกายน 2006, 11:07PM
 

ต่อครับ

อ่านแล้วผมเองก็งง ลองดูตัวอย่างแล้วกลับไปทำความเข้าใจที่เขียนเมื่อกี๊ใหม่นะครับ

ไฟจราจร : user กำหนดได้ว่า เมื่อไหร่ต้องการให้มีรถวิ่ง เมื่อไหร่ไม่ต้องการให้มีรถวิ่ง  ถ้าระบุแค่นี้ ก็เป็น separation in time

เข็มขัดนิรภัย : รู้ว่าเมื่อเกิด impact ต้องฝืด และเมื่อไม่มี impact ต้องลื่น  แต่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะเกิด impact  อันนี้เป็น condition

Air bag : รู้ว่าเมื่อเกิด impact ต้องให้ air bag ทำงาน และเมื่อไม่มี impact ต้องเหมือนไม่มี air bag  แต่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะเกิด impact  อันนี้เป็น condition

แว่นกันแดด : รู้ว่าเมื่อ high light intensity ต้องมี filter property และเมื่อ low intensity ต้องไม่มี filter property   แต่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะมีแสงจ้า อันนี้ก็เป็น condition

ปากกา : (ตัวอย่างนี้ คิดเองครับ) ต้องการให้มีหมึกเมื่อใช้  และต้องการให้ไม่มีหมึกเมื่อไม่ใช้ (จะได้ไม่เลอะเทอะ)  ถ้าระบุแค่นี้ ก็เป็น separation in time
แต่ถ้าดันรู้ว่า เมื่อจะใช้ มันต้องเกิดแรง shear (friction) ระหว่างปลายปากกากับพื้นที่จะเขียน  เลยระบุได้ใหม่ว่า ต้องมีหมึกเมื่อมี shear และต้องไม่มีหมึกเมื่อไม่มี shear อันนี้ก็กลายเป็น condition ได้ด้วย

หมวกกันน็อค : (ปัญหาข้อที่แล้ว) ต้องใหญ่เมื่อใช้ และเล็กเมื่อเก็บ แน่นอนเป็น Time

เท่าที่สังเกต พบว่า วิธีการแก้ปัญหาที่เป็น time จะใช้วิธีง่ายๆ หรือ principle ที่เห็นว่ามี function ของเวลาหรือ sequence การกระทำเข้ามาเกี่ยว เช่น prior action, anti-action, periodic action, partial/excess action, vibration, ...

แต่วิธีแก้กรณี condition จะต้องการอะไรที่เป็น automation มากกว่า (เพราะมันไม่รู้ว่าเงื่อนไขนั้น จะเกิดเมื่อไหร่) จะต้องการหลักการที่เกี่ยวกับการเปลี่ยน property หรือ feedback เช่น parameter change, phase change, colour change, mechanical substitution, feedback....  ซึ่งยากกว่ากรณี Time ธรรมดา ให้ทำใจไว้เลย แต่คำตอบดูเจ๋งกว่าแน่นอน

ดูตัวอย่างปากกาดีกว่า ซึ่งเป็นได้ทั้ง time และ condition จะให้ solution ต่างกันยังไง

ถ้ามองว่าเป็น time ก็คงใช้วิธีง่ายๆ คือ เมื่อไม่ใช้ ก็ใส่ปลอกซะ เมื่อใช้ก็ถอด หรือไม่ก็เอาแบบกดให้ปลายปากกาโผล่เมื่อจะใช้ แค่นั้นเอง

แต่ถ้ามองเป็น condition ว่าใช้ shear ก็คงจะคิดเลยเถิดไปถึงการ rolling และแล้วปากกาลูกลื่นก็ถือกำเนิดขึ้น โดยใช้ ball เป็นตัว transfer หมึกในเบ้าที่ทำหน้าที่เหมือน seal  และแบบเจ๋งกว่าก็คือใช้หมึกที่เป็น thixotropic คือ low viscosity เมื่อมี shear (ink transfer ได้ดี)  และ high viscosity เมื่อไม่มี shear (seal ได้ดี)

พูดถึงเรื่องนี้ คิดถึง solder paste ที่ใช้ในวงการ SMT PCB assembly ที่ผมเคยคุ้น คือ ต้องเหลวเมื่อ print (apply shear) และหนืด maintain shape ได้เมื่อ remove shear แล้ว  ได้ตัวอย่าง physical contradiction ที่เป็นทั้ง time และ condition อีกแล้วครับท่าน

นอกจากนั้น ตัว solder paste เองยังมีใช้หลักการของ TRIZ อีกตั้งหลายอย่าง ผมคิดว่าคนที่คิด solder paste ได้คนแรก นับว่าเก่งสุดยอดจริงๆ

จริงๆ physical contradiction ของปากกายังมีอีกนะครับ สมัยที่เป็นปากกาหมึกซึม ใช้หลักการ gravity กับ capillary  เขาต้องการน้ำหมึกที่แห้งช้า เพื่อไม่ให้อุดตันหรือแห้งติดปลาย แต่ก็ต้องการน้ำหมึกที่แห้งเร็ว เพื่อว่าเขียนแล้ว จะไม่เลอะเทอะ  (รู้สึกว่าจะแก้ contradiction นี้ไม่ได้ และก็ยอมใช้หมึกแบบน้ำแห้งช้า จนกระทั่งมาเป็นปากกาลูกลื่น ที่ใช้หมึกแบบหนืดแห้งเร็วแทน) ผมรู้ซึ้งเรื่องเลอะนี้ดี เพราะดันถนัดมือซ้าย เวลาเขียนปากกาหมึกซึมจะเลอะเทอะทั้งมือทั้งกระดาษไปหมด  ยิ่งปากกาคอแร้ง (ถ้าจำชื่อไม่ผิด) (แบบที่ต้องคอยจุ่มน้ำหมึกตลอด ใช้คัดลายมือภาษาอังกฤษ คนรุ่นใหม่รู้จักไหม) ยิ่งรันทดใหญ่ ต้องตีลังกาเขียน ไม่งั้นเขียนไม่ออก โดนครูบ่นประจำ พวกคนมือขวาไม่รู้หรอกว่าคนมือซ้ายต้องเจออะไรมาบ้าง 

(มีต่ออีก ยังพล่ามไม่จบ)

ตอบ: Separation Principle and Matrix
โดย Wison Bunsangsuk - เสาร์, 25 พฤศจิกายน 2006, 11:22PM
 

(ตอนสุดท้ายแล้ว ทนอีกนิด)

รู้สึกว่าจะเข้าป่าไปแล้ว   ไหนๆก็มั่วมาถึงป่านนี้แล้ว ถ้าคิดเลยเถิดต่อไป ก็พบว่า  separation in space ก็มีส่วน intersect กับ condition เหมือนกัน คำอธิบายก็คงคล้ายๆกับกรณี time

ก็ขอตอบต่อเลยว่า ปัญหาข้อพัดลม ที่พัดให้มีลมในตำแหน่งที่มีคนเท่านั้น อันนี้เป็น separation on condition ในแง่ของ space ครับ

เห็นมีสมาชิกหลายท่าน บอกว่าสนใจ TRIZ กำลังเริ่มศึกษาอยู่ (ขอให้จริงเหอะ) รู้สึกยินดีมากที่เมืองไทยจะมีนักคิดเก่งๆมาสร้างเทคโนโลยีที่เหมาะสมของตัวเองในอนาคต ไม่ต้องไปเป็นเบ๊ขี้ข้าพวกต่างชาติ ได้แค่ค่าแรง  ก็ขอฝากให้ข่วยกันลองหาตัวอย่าง physical contradiction อื่นๆมาดูนะครับ แล้วดูว่า นิยามแบบมั่วๆของผม มันใช้ได้ทุกกรณีหรือเปล่า ถ้าผิดจะได้ปรับปรุงแก้ไขต่อไป 

ที่สำคัญลองดูด้วยว่าเขาแก้ปัญหา physical contradiction กันด้วยวิธีไหน  อย่าไปยึดติดในกรอบแค่ example ที่มีในหนังสือ หรือในบทความ  ฝึกมองของรอบๆตัวแหละครับ ให้มองย้อนไปถึงวิวัฒนาการของมันในแต่ละรุ่น เช่น ปากกาขนนก --> ปากกาคอแร้ง--> ปากกาหมึกซึม --> ปากกาลูกลื่น ว่ามันถูกพัฒนากันเรื่อยมาเพื่อแก้ปัญหา contradiction แบบไหน, technical หรือ physical, ระหว่าง parameter อะไรกับอะไร, แล้วเขาแก้โดยใช้ principle ข้อไหน หาอ่านดูใน internet แหละครับ ไอ้พวก product ใหม่ๆที่ชอบโม้อวดอ้างว่าดีกว่าแบบอื่นยังไง นี่แหละตัวอย่างฝึก TRIZ ชั้นดีเลย ยิ่งลองคิดเองมากเท่าไหร่ จะยิ่งเข้าใจพวก generic term ต่างๆ ได้ลึกซึ้งขึ้น

เออ จริงๆผมก็มวยวัด ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือเป็นครูบาอาจารย์อะไรซักหน่อย แล้วมีหน้าอะไรมาเสนอแนะ    ถ้างั้น ก็ขอให้ลองไตร่ตรองดูก่อนแล้วกัน อย่าเพิ่งเชื่อนะ

การพิมพ์นี่ใช้เวลามากจริงๆ  จริงๆตั้งใจว่าจะพยายามเข้าไปตอบมันทุกกระทู้  เห็นแว้บๆ เรื่องไล่แมลงก็ยังไม่ได้ตอบ แต่แม่น้องเพนกวินบ่นแล้ว นั่งจิ้มดีดอยู่ทั้งวัน  ไม่ทำมาหากิน ดึกแล้ว พรุ่งนี้ต้องกลับบ้าน เห็นทีต้องไปล่ะครับ

สวัสดีครับ

(จบซะที)

ตอบ: Separation Principle and Matrix
โดย pingpong \(-_-)/ - อาทิตย์, 26 พฤศจิกายน 2006, 05:44AM
  เยี่ยม   ทำให้ได้มุมมองที่กว้างขึ้น
ตอบ: Separation Principle and Matrix
โดย Tanasak Pheunghua - อาทิตย์, 26 พฤศจิกายน 2006, 11:22AM
 

เขียนก่อนนะครับ ที่ค้างไว้หลายวัน

หัวข้อต่อไปนี้เป็นอีกมิติหนึ่งดูเผินๆจะเหมือน Separation แต่ดูดีๆจะเหมือนมองคนละมุมครับ (เป็นความคิดส่วนตัวนะครับ) สำหรับตัวอย่างบางอันจำเค้ามา บางอันคิดเอง สังเกตุได้ว่าอันไหนที่ดูแปร่งๆ ผมคิดเองครับ

เรื่องของ การแก้ไขข้อขัดแย้งแบบ Physical มีเพิ่มเติมคือ

1 การควบรวมของระบบ System ไปสู่ Supersystem

ตัวอย่าง อันนี้ใช้ Airbag ได้ เลย อยากมีหมอนไว้กันกระแทก แต่ก็ไม่อยากมีหมอน คาไว้หน้าพวงมาลัย มองหยาบๆก็ต้องมีระบบย่อยมารวมตัวเพื่อแก้เรื่องนี้ เช่น ระบบ Sensor/Gas containing/และ หมอน (Airbag) นั่นแหละครับ

2 ใช้การรวมตัวกันของหลายระบบด้วยตัวต้านการทำงานของระบบ Anti System

ตัวอย่าง เปิดตู้เย็นดูที่ช่อง Freeze นะครับ อยากให้เย็น แต่ไม่อยากให้น้ำแข็งเกาะ ก็เลยมีตัวละลายน้ำแข็ง

3 ได้คุณลักษณะจำเพาะหนึ่งๆ จากลักษณะจำเพาะที่ต้านคุณสมบัตินั้นๆ

ตัวอย่าง เครื่องตัด (เล็ม) หญ้าที่ใช้เอ็นเป็นคมตัด เดิมใช้ใบมีดก็แข็งแรงเกินไป ที่เหลือคิดต่อเองนะครับ....

4 เปลี่ยนสถานะ

ตัวอย่าง อาหารหลายชนิดไม่สามารถเก็บ และ รอการขายนานๆได้ ขณะที่เวลาผู้บริโภคจะซื้อหา ก็ต้องการเฉพาะของที่ดีอยู่ การ "แช่แข็ง" อาหารเป็นความพยายามลดการขัดแย้งดังกล่าว หรือพวกน้ำดื่มที่ต้อง Pack ลงขวดหรือกล่อง ก็มองเป็นการเปลี่ยนสถานะได้ มั้งครับ

5 การเปลี่ยน Physical Contradiction ให้ทำงานในระดับ Micro Level

ตัวอย่าง กล่องนม ที่มีรูเจาะเล็กๆ ไว้ใส่หลอด (ต้องลองย้อนความขัดแย้งเองนะครับ)หรือ กระเป๋าสะพายที่มี ซิปหลายๆอัน (ดูท่าจะไม่เวิร์คนะตัวอย่างนี้) จุกน้ำปลาที่มีรูเล็กๆ ก็ได้เช่นกัน

6 หาอะไรซักอย่างที่ปรับตัวทำงานได้ทั้งสองเงื่อนไขที่ขัดแย้งกัน

ตัวอย่าง ซิลิโคนที่หุ้มโทรศัพท์มือถือ อลูมิเนียม ที่แปรรูปง่ายกว่าเหล็ก แต่สามารถทำ Heat Treatment T6 etc.. หรือ ไม่ต้อง Treat (บ่ม และปล่อยให้ Crytal Growth ตามธรรมชาติ) และได้ความแข็งแรงเพียงพอ

7 ใช้ปรากฏการณ์ธรรมชาติเข้ามาช่วย

ตัวอย่าง ฝุ่นบนหลังคาบ้าน รอฝนตกก็ได้ครับ

สูงสุดคืนสู่สามัญ

ไปทานข้าวก่อนครับ เดี๋ยวมาตอบต่อ

ตอบ: Separation Principle and Matrix
โดย Tanasak Pheunghua - อาทิตย์, 26 พฤศจิกายน 2006, 12:36PM
 

อีกนิดนึงครับ

8 ลักษณะ Decomposition / Composition

ตัวอย่าง Packaging สำหรับบรรจุอาหาร บางชนิดต้องการไม่ให้มีความชื้นเข้าไป

ถ้าเป็นกระป๋องก็จบ แต่ถ้าเป็นถุงกระดาษหรือ พลาสติก ซึ่ง Flexible กว่ากระป๋อง เบากว่าและอาจจะถูกกว่า

แต่มีข้อเสียตรง ความชื้นผ่านได้

การ Decomposite ของวัสดุประเภท Alloy (Aluminum/ หรือวัสดุคล้ายๆกัน) ให้เป็นไอ และวิ่งไปเกาะผิวพลาสติก (บนถุงขนมขบเคี้ยว)

วัสดุที่ Flexible ก็จะกันความชื้นได้ครับ

ตอบ: Separation Principle and Matrix
โดย Tanasak Pheunghua - อาทิตย์, 26 พฤศจิกายน 2006, 12:42PM
 

คุณ Wison = มวยวัด ? 

วัดไหนครับ ผมว่าเส้าหลินนะเนี่ย กัดฟัน 

ถ้าคีย์ของ TRIZ คือ Reinvent ผมว่าวิธีที่ Altshuller คิด

คุณ Wison ก็คิดแบบเดียวกันอยู่

ช่วงนี้ผมพบคนที่คิดแบบ TRIZ แต่ไม่รู้ตัวหลายท่านครับ

ผมก็ต้องปรับปรุงตัว แวะมา Update บอร์ดบ่อยๆ เพราะหลายครั้งคิดอะไร ที่เทียบเคียงทฤษฎีของ TRIZ ได้ แต่ไม่ได้บันทึก สักพักก็ลืม