วิวัฒนาการของ TRIZ จากClassical TRIZ สู่ Contemporary TRIZ
โดย Trizit B - อังคาร, 17 กุมภาพันธ์ 2009, 04:36PM
      อัลต์ชูลเลอร์ผู้ให้กำเนิด TRIZ ได้เริ่มการค้นคว้าเรื่อง TRIZ ตั้งแต่ปี 1946โดยมีสมมติฐานพื้นฐาน 2 อย่าง หนึ่งในนั้นคือ วิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยี( ผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการผลิต) จะดำเนินไปอย่างมีแบบแผนที่แน่ชัด 
อัลต์ชูลเลอร์มีความคิดว่าผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการผลิตต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมถูกนำมาใช้เพื่อทำให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์มีสะดวกสบายขึ้น ดังนั้น ระบบเทคโนโลยีต่างๆจึงไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร้ทิศทางหรือเลื่อนลอย   การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นไปตามแบบแผนที่แน่นอนอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น  เรียกได้ว่าเป็นวิวัฒนาการ   ในการวางแผนการสร้างผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีใหม่ๆขึ้นมา     ถ้าทราบหลักการหรือแบบแผนนั้น   ก็จะทำให้สามารถลดเวลา  ลดแรงงาน และลดต้นทุนที่จะเสียไปกับการลองผิดลองถูกได้อย่างมาก  ทำให้สามารถกำหนดทิศทางการปรับปรุงพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตอบ: วิวัฒนาการของ TRIZ จากClassical TRIZ สู่ Contemporary TRIZ
โดย Trizit B - อังคาร, 17 กุมภาพันธ์ 2009, 04:39PM
 
 แบบแผน(Pattern)ของวิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยีที่อัลต์ชูลเลอร์ค้นพบมี 8 รูปแบบที่สำคัญ เช่น วิวัฒนาการจะมีทิศทางมุ่งสู่การเพิ่มขึ้นของความเป็นอุดมคติ  วิวัฒนาการจะดำเนินไปสู่ทิศทางที่ความซับซ้อนมีสูงขึ้นในตอนต้น  หลังจากนั้นจะถูกปรับปรุงให้เรียบง่ายขึ้น และ วิวัฒนาการจะดำเนินไปไปสู่ทิศทางที่คนเข้าไปมีบทบาทเกี่ยวข้องน้อยลง เป็นต้น
    เครื่องมือในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อการแก้ปัญหาที่อัลต์ชูลเลอร์ได้ศึกษาค้นคว้าจากสิทธิบัตรต่างๆมากมาย ก็มีลักษณะเป็นไปตามวิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยีเหมือนกัน กล่าวคือ เครื่องมือของ TRIZ เริ่มต้นจากปัญหาที่มีรูปแบบชัดเจน มีความขัดแย้งในระบบ เกิดเป็นเครื่องมือที่เรียกว่า ความขัดแย้งเชิงเทคนิคและความขัดแย้งเชิงกายภาพซึ่งสามารถค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหาได้จากฐานความรู้เรื่อง 40 หลักการเชิงประดิษฐ์คิดค้น และหลักการของการแบ่งแยก  ต่อมา อัลต์ชูลเลอร์พบว่า เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทั้ง 2 อย่างนั้นยังไม่เพียงพอ เพราะปัญหาบางอย่างไม่ใช่ปัญหาความขัดแย้ง  แต่เป็นปัญหาของความด้อยประสิทธิภาพของฟังก์ชันการทำงานที่ต้องการปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือปัญหาผลกระทบที่เป็นอันตรายที่ต้องการขจัดออกไป  อัลต์ชูลเลอร์จึงได้พัฒนาเครื่องมือในการวิเคราะห์ระบบที่เรียกว่า Substance-Field Analysis เพื่อสร้างแบบจำลองของระบบที่มีปัญหาขึ้นมา แล้วค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหาได้จากฐานความรู้เรื่อง 76 คำตอบมาตรฐานที่เขารวบรวมขึ้นมา  นอกจากนั้น อัลต์ชูลเลอร์ยังได้พัฒนาเครื่องมือและแนวคิดอื่นๆที่จะช่วยให้การแก้ปัญหาง่ายขึ้น เช่น Effects, Resources, SLP(Smart Little People) รวมทั้งเครื่องมือที่รวมเอาเครื่องมือทุกตัวเข้าไว้ด้วยกันเพื่อแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนที่เรียกว่า ARIZ(Algorithm for Inventive Problem Solving) ดังรูปข้างล่าง
 
   
เครื่องมือและฐานความรู้แต่ละอย่างถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาที่มีลักษณะต่างๆกัน เมื่อถูกรวบรวมขึ้นมาเพื่อพยายามที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาทั่วไปที่ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน   ก็ทำให้กลายเป็นระบบเครื่องมือที่ซับซ้อน ยุ่งยาก  ไม่สะดวกต่อการนำไปใช้งาน  แม้ว่าจะได้มีการปรับปรุงกระบวนการการแก้ปัญหาที่เรียกว่า ARIZ นี้ไปหลายเวอร์ชันก็ตาม
เครื่องมือต่างๆที่อัลต์ชูลเลอร์สร้างขึ้นนี้ เรียกว่า Classical TRIZ (TRIZ ดั้งเดิม) ภายหลังจากที่อัลต์ชูลเลอร์ยุติบทบาทด้วยความชราภาพและเสียชีวิตในเวลาต่อมาในปี 1998   ลูกศิษย์ลูกหาหลายๆคนรวมทั้งนักวิชาการตะวันตกบางคนได้ช่วยกันพัฒนา TRIZ ต่อไปให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นซึ่งเราเรียก TRIZ ยุคใหม่นี้ว่า Contemporary TRIZ ซึ่งมีอยู่หลายๆสำนักด้วยกัน บางสำนักก็ปรับปรุงให้เรียบง่ายเกินไปจนเหลือหลักการอยู่เพียงไม่กี่ข้อ  ทำให้ขาดเนื้อหาสาระไป เช่น SIT (Systematic Inventive Thinking)  บางสำนักก็ไปปรุงแต่งอัลกอริทึมของตนเองขึ้นมาใหม่ซึ่งก็ไม่ได้ลดความยุ่งยากลงแต่ประการใด เช่น USIT (Unified Structured Inventive Thinking)

โจทย์  เราจะใช้แบบแผน(Pattern)ของวิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยีข้อใดมาใช้ในการวางแผนและพัฒนา TRIZ ยุคใหม่ให้สอดคล้องกับวิวัฒนาการได้บ้าง  คำตอบอาจมีได้หลายแนวทาง  ลองคิดโดยใช้แบบแผน(Pattern)ต่างๆดูนะครับ   และ ขอเชิญร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นได้ที่   http://www.trizthailand.com/elearning/ 

เฉลย...
 

ตอบ: วิวัฒนาการของ TRIZ จากClassical TRIZ สู่ Contemporary TRIZ
โดย Trizit B - พฤหัสบดี, 12 มีนาคม 2009, 09:34AM
 
เฉลย
           ใช้แบบแผนว่าด้วยวิวัฒนาการจะมีทิศทางมุ่งสู่การเพิ่มขึ้นของความเป็นอุดมคติ  เช่น เพิ่ม Useful Function ให้ใช้แก้ปัญหาได้หลากหลายมากขึ้นทั้งปัญหาของระบบวิศวกรรมและปัญหาของระบบอื่นๆ เช่น ระบบการบริหารและการจัดการ  และ ลด  Harmful Function เช่น ความยุ่งยากในการใช้งานให้หมดไป
           ใช้แบบแผนว่าด้วยวิวัฒนาการจะดำเนินไปสู่ทิศทางที่ความซับซ้อนมีสูงขึ้นในตอนต้น  หลังจากนั้นจะถูกปรับปรุงให้เรียบง่ายขึ้น เช่น TRIZ ยุคใหม่จะต้องใช้งานง่ายขึ้น   แต่ยังคงไว้ซึ่งความทรงพลังในการแก้ปัญหาของ TRIZ ดั้งเดิมอยู่
            ใช้แบบแผนว่าด้วยวิวัฒนาการจะดำเนินไปไปสู่ทิศทางที่คนเข้าไปมีบทบาทเกี่ยวข้องน้อยลง เช่น  มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการศึกษาเรียนรู้ และช่วยในการใช้งานTRIZ ยุคใหม่ให้สะดวกขึ้น
ท่านที่สนใจ  ลองดูตัวอย่าง TRIZ ยุคใหม่ เช่น Guided Brainstorming(ตัวช่วยระดมสมอง) ได้ที่    http://www.trizit.net/gbt_test   



ตอบ: วิวัฒนาการของ TRIZ จากClassical TRIZ สู่ Contemporary TRIZ
โดย Trizit B - พฤหัสบดี, 12 มีนาคม 2009, 10:00AM
  วันก่อนไปบรรยายเรื่อง “ สร้างสรรค์นวัตกรรมแนว TRIZ ”
ในการประชุมวิชาการโรงพยาบาลราชวิถี  ครั้งที่ 20 ประจำปี  2552
“ ราชวิถี 2009 สู่ศูนย์การแพทย์ชั้นนำระดับนานาชาติ”   “Rajavithi 2009  to Leading International Medical  Center”
24-27  กุมภาพันธ์ 2552  ณ ห้องประชุม ชั้น 11 และ 12 อาคารเฉลิมพระเกียรติ  6 รอบพระชนมพรรษา

ได้มีโอกาสแนะนำ Contemporary TRIZ และคอมเมนต์ให้กับนวัตกรรมของ ร.พ ราชวิธี
ขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อเป็นวิทยาทาน


ตอบ: วิวัฒนาการของ TRIZ จากClassical TRIZ สู่ Contemporary TRIZ
โดย Trizit B - พฤหัสบดี, 12 มีนาคม 2009, 10:04AM
 
.
ตอบ: วิวัฒนาการของ TRIZ จากClassical TRIZ สู่ Contemporary TRIZ
โดย Trizit B - พฤหัสบดี, 12 มีนาคม 2009, 10:11AM
 
.
ตอบ: วิวัฒนาการของ TRIZ จากClassical TRIZ สู่ Contemporary TRIZ
โดย Trizit B - พฤหัสบดี, 12 มีนาคม 2009, 07:59PM
 
.
ตอบ: วิวัฒนาการของ TRIZ จากClassical TRIZ สู่ Contemporary TRIZ
โดย Trizit B - พฤหัสบดี, 12 มีนาคม 2009, 08:01PM
 
ขั้นตอนที่ 4 สร้างสรรค์ไอเดีย


ตอบ: วิวัฒนาการของ TRIZ จากClassical TRIZ สู่ Contemporary TRIZ
โดย Trizit B - พฤหัสบดี, 12 มีนาคม 2009, 08:05PM
 
สร้างสรรค์ไอเดียตามลักษณะของโจทย์ 3 ประเภท

Guided Brainstorming Toolkit  จะเป็นการบูรณาการเครื่องมือต่างๆของ Classical TRIZ ไม่ว่าจะเป็น หลักการเชิงประดิษฐ์คิดค้น   หลักการของการแบ่งแยก และ 76 คำตอบมาตรฐาน ตลอดจนวิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยีและแนวคิดเกี่ยวกับทรัพยากรขึ้นมาใหม่โดยแยกประเภทของกลุ่มหลักการตามแนวทางในการสร้างสรรค์ไอเดีย และ ตามโอกาส(โจทย์)ที่จะมุ่งสู่ความเป็นความเป็นอุดมคติ  หลักการเหล่านี้ถูกลดความซ้ำซ้อนและทำให้เด่นชัดมากขึ้น    สามารถนำไปใช้เป็นตัวช่วยในการระดมสมองเพื่อแก้ปัญหาทั้งระบบทางด้านเทคนิคและระบบทางด้านบริหารได้อย่างสะดวกมากขึ้น  โดยยังคงใช้ชื่อว่าหลักการเชิงประดิษฐ์คิดค้น(Inventive Principles)

ตอบ: วิวัฒนาการของ TRIZ จากClassical TRIZ สู่ Contemporary TRIZ
โดย Trizit B - พฤหัสบดี, 12 มีนาคม 2009, 10:47AM
  ในนวัตกรรมของโรงพยาบาลราชวิถีมีตัวอย่างการใช้ทรัพยากรเข้ามาแก้ปัญหาอยู่มาก เช่น

การนำวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ เพื่อการจัดเก็บของมีคม
การประดิษฐ์กล่องเก็บขวดน้ำอุ่น
การประดิษฐ์อุปกรณ์ห่อหุ้มฐานรองเครื่องปรับอากาศ
อุปกรณ์ห่อหุ้มส่วนประกอบของเปล
รูปการออกกำลังกายตามโปรแกรมฯ
ระบบดักฝุ่นละอองใยผ้า
ฯลฯ

ซึ่งเกิดจากความรู้และประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่หรือสมาชิกกลุ่ม
อย่างไรก็ตาม ความรู้และประสบการณ์ เหล่านี้ อาจจะยังคับแคบจำกัดอยู่ภายในกรอบที่เรียกว่าความเฉื่อยเชิงจิตวิทยา(Psychological Inertia)   หากเราใช้ตัวช่วยหรือหลักการเชิงประดิษฐ์คิดค้นอื่นๆมาช่วยระดมสมอง   เราอาจได้ไอเดียที่หลุดกรอบ  มีความหลากหลายมากขึ้น
ตอบ: วิวัฒนาการของ TRIZ จากClassical TRIZ สู่ Contemporary TRIZ
โดย Trizit B - พฤหัสบดี, 12 มีนาคม 2009, 08:44PM
 
การแก้ปัญหาโดยใช้แนวทางระดมทรัพยากร (Mobilize Resources)

Guided Brainstorming Toolkit ได้เตรียมตัวอย่างการใช้งานของตัวช่วยหรือหลักการเชิงประดิษฐ์คิดค้นมากกว่า 200 ตัวอย่างที่ครอบคุมทั้ง 60 หลักการ
การระดมทรัพยากร เป็น แนวทางที่สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาได้สำหรับโจทย์ทุกประเภท
ตัวอย่างแรกนี้ เป็นโจทย์ประเภทการกำจัดฟังก์ชันที่ก่อให้เกิดอันตราย

ในGuided Brainstorming Toolkit ได้เตรียมตัวอย่างไว้ เช่น เราต้องการค้นหาทรัพยากรที่เป็นพลังงานมาใช้ในการแกัปัญหาน้ำแข็งเกาะ
(เฉลย ในน้ำทะเลมีความร้อนที่สามารถนำมาละลายน้ำแข็งได้อย่างเหลือเฟือ)


ตอบ: วิวัฒนาการของ TRIZ จากClassical TRIZ สู่ Contemporary TRIZ
โดย Trizit B - พฤหัสบดี, 12 มีนาคม 2009, 08:11PM
 
ตัวอย่างจากหนังสือ นวัตกรรมราชวิถี
ตอบ: วิวัฒนาการของ TRIZ จากClassical TRIZ สู่ Contemporary TRIZ
โดย Trizit B - พฤหัสบดี, 12 มีนาคม 2009, 10:52AM
 
หากเราใช้ตัวช่วยหรือหลักการเชิงประดิษฐ์คิดค้นอื่นๆมาช่วยระดมสมอง   เราอาจได้ไอเดียที่หลุดกรอบ  มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น ใช้ความร้อนสูญเปล่าจากคอยล์ร้อนของเครื่องปรับอากาศที่มีอยู่แล้วในระบบ  หรือ ความร้อนจากน้ำทิ้งของห้องซักผ้า เป็นต้น


ตอบ: วิวัฒนาการของ TRIZ จากClassical TRIZ สู่ Contemporary TRIZ
โดย Trizit B - พฤหัสบดี, 12 มีนาคม 2009, 08:12PM
 
ตัวอย่างจากหนังสือ นวัตกรรมราชวิถี
ตอบ: วิวัฒนาการของ TRIZ จากClassical TRIZ สู่ Contemporary TRIZ
โดย Trizit B - พฤหัสบดี, 12 มีนาคม 2009, 08:15PM
 
ตัวอย่างนี้ เป็นโจทย์ประเภทที่ต้องการปรับปรุงฟังก์ชันที่ก่อประโยชน์ โดยใช้แนวทางของการเปลี่ยนกลไกการทำงาน

ตอบ: วิวัฒนาการของ TRIZ จากClassical TRIZ สู่ Contemporary TRIZ
โดย Trizit B - พฤหัสบดี, 12 มีนาคม 2009, 08:18PM
 
ตัวอย่างจากหนังสือ นวัตกรรมราชวิถี
ใช้ท่อฉีดน้ำล้างกระเพาะต่อรวมเข้ากับอุปกรณ์ส่องกล้องตรงกับหลักการการผสมผสาน (Integrate)

ตอบ: วิวัฒนาการของ TRIZ จากClassical TRIZ สู่ Contemporary TRIZ
โดย Trizit B - พฤหัสบดี, 12 มีนาคม 2009, 08:19PM
 
ตัวอย่างจากหนังสือ นวัตกรรมราชวิถี
ตอบ: วิวัฒนาการของ TRIZ จากClassical TRIZ สู่ Contemporary TRIZ
โดย Trizit B - พฤหัสบดี, 12 มีนาคม 2009, 08:21PM
 
ตัวอย่างนี้ เป็นโจทย์ประเภทที่ต้องการปรับปรุงฟังก์ชันที่ก่อประโยชน์ โดยใช้แนวทางของการเปลี่ยนมุมมอง/ผลลัพธ์
ตอบ: วิวัฒนาการของ TRIZ จากClassical TRIZ สู่ Contemporary TRIZ
โดย Trizit B - พฤหัสบดี, 12 มีนาคม 2009, 08:27PM
 
ตัวอย่างจากหนังสือ นวัตกรรมราชวิถี
วิธีการที่ใช้จะสอดคล้องกับหลักการ Matching ดังตัวอย่างข้างบนที่เป็นแก้ปัญหา
การแกะสลักรูปปั้นขนาดใหญ่โดยการถอดแบบรูปปั้นขนาดเล็กโดยลดระดับน้ำลงมาเป็นชั้นๆ

ตอบ: วิวัฒนาการของ TRIZ จากClassical TRIZ สู่ Contemporary TRIZ
โดย Trizit B - พฤหัสบดี, 12 มีนาคม 2009, 11:24AM
 
Guided Brainstorming Toolkit จะช่วยให้เราสร้างสรรค์ไอเดียได้อย่างมีทิศทางและมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยตัวช่วยและตัวอย่างจากความสำเร็จของนักประดิษฐ์ในอดีตที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหาของเรา