เครื่องยนต์ไอพ่นไปชนอะไรมา ถึงบุบไป ทำไมไม่กลม
โดย Trizit B - พุธ, 29 ตุลาคม 2008, 02:38PM
 

ไปเที่ยวสิบสองปันนามา  มีโอกาสไปขึ้นเครื่องจากรันเวย์

ก็เลยถ่ายรูปมาฝากให้ลองคิดดูครับว่า

เครื่องยนต์ไปชนอะไรมา ถึงบุบไป  ทำไมไม่กลม 


ตอบ: เครื่องยนต์ไอพ่นไปชนอะไรมา ถึงบุบไป ทำไมไม่กลม
โดย Trizit B - พุธ, 29 ตุลาคม 2008, 02:43PM
 

โจทย์ข้อนี้เป็นตัวอย่างจริงของการใช้ทริซในการแก้ปัญหาโดยบริษัทโบอิง

ลองช่วยกันคิดดูว่า  เขาแก้ปัญหาอะไร

อะไรคือความขัดแย้ง

เขาใช้หลักการข้อไหนในการแก้ปัญหา

ถ้ายังคิดไม่ออก  ไปพักผ่อนสมองเที่ยวสิบสองปันนากันก่อนก็ได้ครับที่ http://www.bangkaew.com/elearning2/mod/forum/discuss.php?d=4338


ตอบ: เครื่องยนต์ไอพ่นไปชนอะไรมา ถึงบุบไป ทำไมไม่กลม
โดย - พฤหัสบดี, 30 ตุลาคม 2008, 07:30PM
 

4. ความไม่สมมาตร

ตอบ: เครื่องยนต์ไอพ่นไปชนอะไรมา ถึงบุบไป ทำไมไม่กลม
โดย Trizit B - อังคาร, 11 พฤศจิกายน 2008, 08:16AM
 

ถูกต้อง ค๊า...บ

โจทย์ข้อนี้ เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของความขัดแย้งทางเทคนิค กล่าวคือ ต้องการปรับปรุงเครื่องยนต์เจ็ตให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้อากาศไหลเข้ามาได้มากขึ้น แต่พอเครื่องยนต์เจ็ตมีขนาดใหญ่ขึ้น จะทำให้ระยะห่างจากพื้นดินมีน้อยเกินไป เมื่อลองคิดแก้ปัญหาตามแนวทางของทริซโดยใช้ตารางแมตทริกส์ความขัดแย้งและหลักการ 40 ข้อ ( 40 priciples) จะพบว่า สามารถจับคู่ความขัดแย้งได้หลายๆคู่ เช่น พื้นที่(5) ขัดแย้งกับความยาว(3) หรือ ปริมาตร(7)ขัดแย้งกับความยาว(3) หรือ รูปร่าง(12)ขัดแย้งกับความยาว(3) เป็นต้น ซึ่งในคู่ความขัดแย้งทั้ง 3 จะมีหลักการที่ร่วมกับอยู่ คือ หลักการข้อ 4 ความไม่สมมาตร

เมื่อเราพิจารณาหลักการข้อนี้ ก็จะได้ไอเดียว่า เส้นผ่าศูนย์กลางหรือรัศมีของช่องอากาศที่จะเข้าสู่เครื่องยนต์เจ็ตไม่จำเป็นต้องเท่ากันทุกด้านก็ได้ ด้านที่อยู่ใกล้พื้นดินอาจทำให้สั้นลง เพื่อรักษามาตรฐานความปลอดภัย ในขณะที่ด้านอื่นๆ อาจทำให้ยาวขึ้นได้ หลักการข้อนี้ ยังมีที่ใช้งานเพื่อแก้ปัญหาทางด้านวิศกรรมอื่นๆอีก เช่น การออกแบบคอนเน็คเตอร์ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ จะออกแบบให้ไม่สมมาตรกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เสียบผิดด้าน เป็นต้น

แต่เช้านี้ ฟังข่าวเรื่องนกถูกดูดเข้าไปในเครื่องยนต์ของเครื่องบินที่กำลังบินอยู่เหนือกรุงโรม   ทำเอาเครื่องบินเกือบร่วง  ก็เป็น Subsequence Problem ที่ตามมาจากผลการออกแบบของโบอิง  เป็นปัญหาความขัดแย้งเชิงเทคนิคเช่นกัน  กล่าวคือ  ต้องการให้เครื่องยนต์มีช่องอากาศเข้าขนาดใหญ่เพื่อรับอากาศได้มากขึ้น   แต่ทำให้ไม่ปลอดภัย  หรือ ขาดความน่าเชื่อถือ  เพราะนกที่บินอยู่  อาจถูกดูดเข้าไปได้ง่ายขึ้น

ลองจับคู่ความขัดแย้ง  แล้วช่วยกันสร้างสรรค์ไอเดียดูนะครับ   

แต่อย่าลืมไปจดสิทธิบัตรไว้  เผื่อจะได้ไปขายให้โบอิง   รวยไม่รู้เรื่อง ยิ้ม

Bird-hit jet in emergency landing

Several passengers and crew suffered minor injuries in the landing
Enlarge Image

Rome's Ciampino airport has been closed to flights after a Ryanair plane from Frankfurt suffered "substantial damage" as it made an emergency landing.

The budget airline said the plane had experienced problems after birds were sucked into the engine as it came in to land at Rome's second-largest airport.

Passengers left the Boeing 737 using emergency chutes.

The plane remains on the runway with one engine resting on the tarmac because of damage to the landing gear.

It is being examined by Ryanair engineers and the Italian Aviation Authority.

People were crying, it was terrible, it was a bad experience
Ryanair passenger

Ryanair said the airport, which hosts several budget airlines, was likely to remain closed for the rest of Monday.

Ryanair flight FR4102 from Frankfurt to Rome had 166 passengers on board.

Reports say two cabin crew and at least three passengers were taken to hospital with minor injuries. One passenger said an engine had begun to smoke as the plane was coming in to land and it then descended rapidly.

Passengers describe the emergency Ryanair landing in Rome

"People were crying, it was terrible," he added.

Another passenger said he thanked God that nobody had died.

A picture of the plane on the Ryanair website appeared to show red marks on the nose cone and wings - presumably from the birds.

Other Ryanair flights would be diverted to Rome's other airport, Fiumicino, until Ciampino was re-opened, the airline said.

At least 219 people have been killed worldwide since 1988 as a result of wildlife strikes to aircraft, according to the organisation Bird Strike Committee USA.

A US Federal Aviation Administration study has found that between 1990 and 2007, more than 82,000 wildlife strikes were reported at more than 1600 American airports.

The phenomenon causes billions of dollars of damage to aircraft worldwide.

http://news.bbc.co.uk/2/hi/europe/7719716.stm