วิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยี
โดย Trizit B - อาทิตย์, 25 กันยายน 2005, 06:51AM
 

กรณีศึกษา :  การพัฒนาจักรยาน

เริ่มจากทำเป็นม้าไม้ใส่ล้อใช้เท้าดันกับพื้น   เวลาเลี้ยวต้องเอนตัวไปข้างหลังเพื่อยกล้อหน้า

ต่อมา  มีการปรับปรุงใส่พวงมาลัยให้สามารถเลี้ยวได้

http://www.maxime-verlag.de/presse_Drais/2005_01_29newscientist.html


ตอบ: วิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยี
โดย Trizit B - อาทิตย์, 25 กันยายน 2005, 06:55AM
 
ต่อมา มีการปรับปรุงระบบพลังงานจากใช้เท้าดันกับพื้น มาเป็น ใช้เท้าถีบที่ปั่นกงล้อที่ติดกับล้อหน้า
ตอบ: วิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยี
โดย Trizit B - อาทิตย์, 25 กันยายน 2005, 07:03AM
 
เพื่อให้ความเร็วสูงขึ้น  ได้มีการทำล้อหน้าให้ใหญ่ขึ้น   เป็นที่นิยมอยู่พักใหญ่
ตอบ: วิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยี
โดย Trizit B - อาทิตย์, 25 กันยายน 2005, 07:06AM
 
แต่เนื่องจากไม่ปลอดภัยและขีดจำกัดของความยาวของช่วงขา   ไม่สามารถทำให้ล้อใหญ่ไปกว่านี้ได้   ได้มีการพัฒนาระบบโซ่และเฟืองทดขึ้นมา
ตอบ: วิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยี
โดย Trizit B - อาทิตย์, 25 กันยายน 2005, 07:11AM
 

ต่อมาได้มีการปรับปรุงระบบเฟีองทดให้เป็นระบบเกียร์ที่สามารถปรับความเร็วได้หลายระดับ

http://www.ibike.org/index.htm


ตอบ: วิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยี
โดย Trizit B - อาทิตย์, 25 กันยายน 2005, 07:13AM
 
มีผู้นำไปประดิษฐ์เป็นจักรยานล้อเดียว
ตอบ: วิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยี
โดย Trizit B - อาทิตย์, 25 กันยายน 2005, 07:15AM
 
แล้วใช้ระบบโซ่และเฟืองทดเพื่อเพิ่มความเร็ว
ตอบ: วิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยี
โดย Trizit B - อาทิตย์, 25 กันยายน 2005, 07:16AM
 
บางคนก็คิดนอกกรอบ
ตอบ: วิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยี
โดย Trizit B - อาทิตย์, 25 กันยายน 2005, 07:20AM
 

ท่านคิดว่าจักรยานแคระคันนี้ อยู่ในขั้นตอนใดของวิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยี(ของจักรยาน)

http://www.dwarfbike.com


ตอบ: วิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยี
โดย ????? supalerk - เสาร์, 7 มกราคม 2006, 11:12AM
  ความสมดุล และการถ่ายเทน้ำหนักเพื่อนำไปสู่การเคลื่อนที่
ตอบ: วิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยี
โดย Trizit B - อาทิตย์, 8 มกราคม 2006, 10:02AM
  ถ้าไปดูที่เว็บไซต์เขาจะพบว่า   เขาพยายามแก้ไขปัญหาของจักรยานล้อเดียวแบบมีโซ่และเฟืองทด   เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการทรงตัวและการควบคุมทิศงทาง    ให้สามารถใช้งานได้ง่ายปลอดภัยสำหรับคนทั่วไป   ไม่ต้องฝึกเหมือนจักรยานล้อเดียว    แต่กระทัดรัดกว่าจักรยาน 2 ล้อทั่วไป
ตอบ: วิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยี
โดย Suteera Prasertsan - อังคาร, 10 มกราคม 2006, 09:11AM
  เรื่องพวกนี้ขอแนะนำ www.howstuffworks.com  มีให้ดูอีกมาก
ตอบ: วิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยี
โดย Trizit B - พุธ, 11 มกราคม 2006, 09:22AM
 

อัลต์ชูลเลอร์ได้ค้นคว้าสิทธิบัตรถึง ๒ ล้านกว่าฉบับ  และได้ข้อสรุปว่า  ระบบเทคโนโลยีไม่ได้พัฒนาไปอย่างเลื่อนลอย   แต่มีรูปแบบ(Pattern)ของการพัฒนาอย่างเป็นระบบที่คล้ายคลึงกัน  สามารถนำไปใช้พยากรณ์ทิศทางการพัฒนาของระบบเทคโนโลยีนั้นๆ  หรือ  เอาไปใช้วางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ได้

There are eight patterns in Classical TRIZ. They can be used to solve difficult
problems, forecast the evolution of technological systems, and create and enhance
the tools used for inventive problem solving. The eight patterns (listed below) are
described on the pages that follow.

1 Stages of Evolution of a Technological System
2 Evolution Toward Increased Ideality
3 Non-Uniform Development of System Elements
4 Evolution Toward Increased Dynamism and Controllability
5 Increased Complexity followed by Simplification
6 Evolution with Matching and Mismatching Elements
7 Evolution Toward Micro-Levels and Increased Use of Fields
8 Evolution Toward Decreased Human Involvement

ตัดตอนบางส่วนจาก  Tools of Classical TRIZ

ตอบ: วิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยี
โดย Trizit B - เสาร์, 3 ธันวาคม 2016, 01:13PM
 
“เราสร้างจักรยานตามโจทย์ของผู้บริโภค
และแก้ปัญหาจักรยานแบบดั้งเดิม”

อมรชัย ชัยรัตน์
ผู้ผลิต “จักรยานแคระ” DWARF BIKE

ไม่ต่างกับจักรยานทำมือยี่ห้ออื่น Dwarf Bike เกิดจากความท้าทายและอยากลอง

อมรชัย ชัยรัตน์ เจ้าของบริษัท ช. ฐิติชัย จำกัด ผู้ชอบเครื่องยนต์กลไกเป็นทุนเดิม เล่าถึงจุดเริ่มต้นว่ามาจากการท้าทายกับเพื่อนเรื่องการสร้างจักรยานล้อเดียวที่ขี่ได้ เขาทดลองทำโดยซื้อเฟรมจักรยานเด็กเก่า ๒ คันมาดัดแปลงเป็นจักรยานคันเล็กทรงแปลกตา ให้ชื่อว่า“‘จักรยานแคระ’



อมรชัย กับ “จักรยานแคระ” จักรยานแฮนด์เมดแบบแรกที่เขาผลิตขึ้น ด้านหลังคือภายในโรงงานสร้างจักรยานขนาดเล็กของเขาย่านบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งวันนี้ผลิตจักรยานแฮนด์เมดตามคำสั่งซื้อและโจทย์ที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละเจ้า

แนวคิดมาจากจักรยานล้อเดียวของนักเล่นกายกรรมที่หกหน้าหกหลังได้ ผมเอาล้อเล็ก ๆ ๒ ล้อมาชิดกัน แก้ปัญหาวงเลี้ยวด้วยการใช้ระบบคันชัก ให้เฟืองและบันไดมาอยู่ด้านหน้า” ส่วนคนขี่ต้องนั่งบนอาน จับแฮนด์ที่สูงชะลูดจนคล้ายกับลอยตัวปั่นอยู่เหนือล้อ

จากจักรยานต้นแบบ อมรชัยพัฒนารูปทรงให้สวยงามขึ้นและลดจุดบกพร่อง เช่น เพิ่มจุดบรรทุกสิ่งของ ใส่กลไกปรับความสูง ฯลฯ จนเป็นจักรยานแคระสำหรับวางขายรุ่นแรกเมื่อปี ๒๕๔๑
อมรชัยบอกว่าจักรยานแคระขี่ไม่ยาก เพียงแต่ต้องซ้อมในช่วงแรก เมื่อจับจังหวะได้ ก็ขี่ได้ไม่ต่างกับจักรยานปรกติ



“จักรยานม้วน” จักรยานแฮนด์เมดอีกประเภทที่อมรชัยผลิตขึ้นเพื่อแก้ปัญหาข้อพับหลวมของจักรยานพับที่วางขายทั่วไปในตลาด (เมื่อกางออกจะเป็นดังภาพด้านบนของบทความ)

ดูราวกับความคิดสร้างสรรค์ของชายผู้นี้จะไม่มีวันหมด ๒ ปีต่อมา อมรชัยสร้าง “จักรยานม้วน” เพื่อแก้ปัญหาจักรยานพับที่พับเก็บลำบากและเมื่อใช้งานไปนาน ๆ บานพับก็มักหลวม

“ความยากคือการคิดรูปแบบบานพับ ผมใช้เวลาเป็นปีถึงได้คำตอบว่าต้องไม่มีกลไกล็อก แบ่งพับเป็น ๓ ตอนคือ คอหน้า แฮนด์ และลำตัว ทั้งหมดพับเสร็จใน ๑๐ วินาที เมื่อใช้ก็แค่กางออก”

ตามด้วย “สามล้ออเนกประสงค์”-ท้ายรถบรรทุกของได้ เข้าโค้งไม่พลิกคว่ำ “สามล้อสุขภาพ”-เหมือนนั่งโซฟาขี่จักรยาน “จักรยานครอบครัว”-จักรยาน ๒ ตอน ผู้ขี่ ๒ คน ผู้โดยสาร ๑ คน
เขาบอกว่าผู้อุดหนุนส่วนใหญ่เป็นคนที่ชอบความแปลก

อมรชัยได้รับสิทธิบัตรเรื่อง “ระบบโซ่” และ “คันชัก” ซึ่งทั่วโลกมีเพียง ๕ สิทธิบัตรสำหรับจักรยาน และเขาเป็นเพียงเจ้าเดียวที่นำมาผลิตจักรยานจำหน่าย โดยตั้งใจจะสร้างจักรยานแบบใหม่ ๆ ออกมาให้ได้ทุกปี

“ผมพยายามออกแบบจักรยานเพื่อตอบสนองความต้องการผู้ใช้ อยากให้คนติดตามว่าเราจะผลิตอะไรออกมาอีก ไม่เคยคิดจะผลิตขายแข่งกับจักรยานยี่ห้อดัง หวังว่าสักวันลูกค้าจะเห็นถึงความตั้งใจของเรา และผมภูมิใจว่าคนไทยทำได้”

อมรชัยยอมรับว่าสิ่งที่เขาแก้ไม่ตกมีปัญหาเดียว คือคนไทยไม่เชื่อใจสินค้าไทย ปัจจุบันเขามีรายได้หลักมาจากการรับผลิตจักรยานตามคำสั่งลูกค้าต่างประเทศ “ผมถึงตั้งชื่อยี่ห้อว่า Dwarf Bike เพราะในประเทศนี้ถ้าคุณผลิตสินค้ายี่ห้อคนไทยเมื่อไร คุณเจ๊งเมื่อนั้น”
•Dwarf Bike โทร. ๐๘-๙๘๘๐-๘๖๗๕ เว็บไซต์www.InnovativeBike.com
เรื่อง : สุเจน กรรพฤทธิ์
ภาพ : บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช
•ตีพิมพ์ใน นิตยสาร สารคดี ฉบับที่ 333


http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=1105497&group=2&month=06-2013&date=11


Create Date : 11 มิถุนายน 2556
3 comments
Last Update : 11 มิถุนายน 2556 6:25:20 น.
Counter : 1427 Pageviews