2000 มีการแปลเรียบเรียงบทความเกี่ยวกับ TRIZ จากภาษาญี่ปุ่นลงในวารสารเทคโนโลยีของสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น) ติดต่อกันหลายเล่ม

2002 หนังสือ TRIZ 40 หลักการสร้างสรรค์นวัตกรรม ได้รับการแปลเผยแพร่โดยสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น)

2004 หนังสือ TRIZ ทฤษฎีการแก้ปัญหาในการประดิษฐ์ ได้รับการแปลเผยแพร่โดยสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น)

2005 สำนักพิมพ์ สสท.ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ TRIZ จากมหาวิทยาลัยซันโน ประเทศญี่ปุ่นมาเปิดคอร์สอบรมเรื่อง Classical TRIZ ให้กับสมาชิกกว่า 60 คน เป็นเวลา 3 วัน

2005 บทความเรื่องTRIZ ยุคใหม่กับการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้นได้ถูกนำลงตีพิมพ์ในเว็บไซต์วารสาร HR มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2006 กุมภาพันธ์ ฝ่ายอบรม สสท.ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ TRIZ จากมหาวิทยาลัยซันโน ประเทศญี่ปุ่นมาเปิดคอร์สอบรมเรื่อง Contemporary TRIZให้กับสมาชิกกว่า 70 คน เป็นเวลา 3 วัน

2006 กันยายน ฝ่ายอบรม สสท.ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ TRIZ จากมหาวิทยาลัยซันโน ประเทศญี่ปุ่นมาเปิดคอร์สอบรมเรื่อง Contemporary TRIZ for Product Planning and Development ให้กับสมาชิกเป็นเวลา 4 วัน

2006 ตุลาคม ฝ่ายอบรม สสท.กำหนดจัดทัศนศึกษาไปดูงานด้าน Product and Process Unnovation by TRIZ ณ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 1 อาทิตย์

TRIZ เริ่มเป็นที่รู้จักในเมืองไทยมากขึ้น สถาบันการศึกษาหลายแห่งได้นำ TRIZ ไปสอนร่วมกับวิชาวิศกรรมคุณค่า(Value Engineering) และมีอีกหลายสถาบันที่นำไปสอนในหลักสูตรการบริหารธุรกิจ(MBA) วิชาการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

ในวงการอุตสาหกรรม มีผู้ให้ความสนใจอยู่พอสมควร แต่ยังขาดการนำไปใช้อย่างจริงจัง ตลอดจนยังขาดผู้รู้ที่จะคอยให้คำปรึกษาแนะนำ

คาดว่าในอนาคตอันใกล้ จะมีบริษัทต่างๆให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ตามสภาวะการแข่งขันทางธุรกิจที่แหลมคมขึ้นทุกวัน และจำเป็นต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างมากในการยืนหยัดบนเวทีการค้าโลก

2021 หลักสูตร "จะทำวิจัย/สร้างนวัตกรรมอย่างไรให้สามารถจดสิทธิบัตรได้โดยใช้ TRIZ (Theory of Inventive Problem Solving)"
วันอังคารที่ 14 กันยายน 2564 เวลา 14.00-16.00 น. (รวม 2 ชม.)
Online ผ่าน Zoom - รับจำนวนจำกัดไม่เกิน 20 คนต่อรุ่น
เนื้อหาการอบรม
- ทำไมต้องจดสิทธิบัตร จดสิทธิบัตรให้ผ่านนั้นยากง่ายเพียงใด
- การประดิษฐ์ (Invention) ในสิทธิบัตรหมายความว่าอะไร
- เกณฑ์การพิจารณาให้ผ่านหรือไม่ให้ผ่านมีอะไรบ้าง
- ทำไมเกณฑ์ขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น (Inventive Step) จึงมีความสำคัญ
- สำนักงานสิทธิบัตรมีวิธีการตรวจสอบขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้นอย่างไร
- จะมีวิธีการเพิ่มโอกาสให้การจดสิทธิบัตรผ่านได้บ้างไหม
- ทฤษฏีการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้น (TRIZ) จะช่วยได้อย่างไร
- ตัวอย่างการใช้ TRIZ ในการเพิ่มโอกาสให้การจดสิทธิบัตรผ่าน
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ อาจารย์ นักวิจัย นักประดิษฐ์ ผู้รับผิดชอบงานด้านนวัตกรรมขององค์กร ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป
ค่าลงทะเบียน ท่านละ 600 บาท (รวม VAT)
สิทธิพิเศษสำหรับผู้เข้าอบรม: ผู้เข้าอบรมมีสิทธิเข้าถึงตำรา e-Book online เรื่อง “TRIZ : เรียนรู้ความคิดสร้างสรรค์“
วิทยากร รศ.ดร.ไตรสิทธิ์ เบญจบุณยสิทธิ์
อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
Certified TRIZ Specialist ระดับ 4 จาก The International TRIZ Association
Candidate Patent Agent รุ่นที่ 22 จาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ https://training.tni.ac.th/public-training/156