Trizit B

หน้า: (หน้าก่อน)   1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18 ...110   (ต่อไป)
โดย Trizit B - อังคาร, 5 เมษายน 2011, 09:26AM
 
บรรยากาศการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
เรื่องการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดย TRIZ ( Theory of Inventive Problem Solving )
ที่บริษัทแห่งหนึ่งแถวอยุธยา
เมื่อเดือนมีนาที่ผ่านมา

โดย Trizit B - พุธ, 2 มีนาคม 2011, 11:05AM
  ขอบคุณครับ ที่สนใจมาสอบถาม

ไม่ทราบว่าทางบริษัทของคุณได้ลองใช้ทริซในการแก้ปัญหาดูบ้างหรือยัง

ติดขัดไม่เข้าใจตรงไหนบอกให้ทราบด้วย

ทริซไม่ใช่คำตอบสุดท้าย แต่เป็นการนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ไปคิดต่อ

ลองศึกษารายละเอียดดูก่อนนะครับ ถ้ามีปัญหาอย่างไร ค่อยมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนสมาชิกชุมชนผู้สนใจทริซประเทศไทย

ดูที่ รายวิชา ชุมชนผู้สนใจทริซประเทศไทย

http://trizthailand.com/elearning2/

โดย Trizit B - อังคาร, 8 กุมภาพันธ์ 2011, 03:48PM
  ยังมองภาพไม่ชัดเจนนักว่า 1 pallet ต้องวาง 56 ลัง pallet (1x1 m) ซึ่งจะจัดวางได้ 8 กล่อง/ชั้น โดยต้องวางจำนวน 7 ชั้น เป็นอย่างไร ถ้าลองสเก็ตช์ให้ดูหน่อย จะช่วยให้เพื่อนสมาชิกเกิดความเข้าใจมากขึ้น

ชั้นที่ 6,7 จะต้องยกสินค้าสูงเหนือศรีษะแล้วดันเข้าไป ทำให้เกิดการเจ็บป่วยทางกล้ามเนื้อ

ชั้นที่ 1,2 ต้องก้มลงดันสินค้า ทำให้ปวดเอวหรือเปล่าครับ

ถ้าลองไล่หลักการของ triz 40 ข้อ ก็น่าจะมีบางข้อที่ทำให้เกิดไอเดียไปแก้ปัญหาการเจ็บป่วยทางกล้ามเนื้อได้ เช่น

ใช้หลักการการคานน้ำหนัก ตัวอย่าง หารอกมาช่วย

ใช้หลักการนิวเมติก ตัวอย่าง ใช้ลมอัดช่วยยก

ฯลฯ

เป็นต้น

โดย Trizit B - อาทิตย์, 10 ตุลาคม 2010, 07:15AM
  ปัญหา คือ น้ำติดมากับล้อ แก้ที่ต้นเหตุคือไม่ให้มีน้ำยาก เวลาเทสินค้า น้ำจะหล่นใส่ Hopper ด้วย

เป็นปัญหาในลักษณะที่เราต้องการลดผลกระทบในเชิงลบ(Eliminate Harmful Function) ถ้าไม่สามารถหาคู่ความขัดแย้งได้ ก็ให้พยายามหา Resources and Effects มาเพื่อใช้แก้ปัญหา โดยอาจใช้ประกอบกับหลักการ 40 ข้อ สร้างสรรค์ความคิด พิชิตปัญหาดู

เช่น หลักการ 40 ข้อ ในการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้น

1. การแบ่งออกเป็นส่วนๆ (ทำเป็นส่วนย่อย)
2. การสกัดออก การแยกออก ====> แยกล้อกับถังออกจากกัน เวลาเท ยกเฉพาะถังได้ไหม
3. คุณสมบัติประจำตัว
4. ความไม่สมมาตร
5. การรวมเข้าด้วยกัน
6. การใช้งานหลากหลายวัตถุประสงค์
7. การซ้อนกันเป็นชั้นๆ
8. การคานน้ำหนักกัน
9. การกระทำต่อต้านล่วงหน้า
10. การกระทำล่วงหน้า
11. การป้องกันล่วงหน้า
12. ใช้พลังงานศักย์เท่ากัน
13. ทำกลับทิศทาง (กลับหัวกลับหาง) ====> แทนที่จะเทลง ใช้วิธีดูดขึ้นได้ไหม
14. ความเป็นทรงกลม
15. ความเป็นพลวัต
16. การทำกิริยาเป็นบางส่วนหรือมากเกินไป
17. เปลี่ยนไปสู่มิติใหม่
18. การสั่นสะเทือนเชิงกล ====> สั่นเพื่อสบัดน้ำก่อนเทได้ไหม
19. การกระทำเป็นจังหวะ
20. ความต่อเนื่องของการกระทำที่เป็นประโยชน์
21. การกระทำอย่างว่องไว
22. เปลี่ยนอันตรายให้เป็นประโยชน์
23. การป้อนกลับ
24. ใช้ตัวกลาง ====> ใช้พื้นฟองน้ำเพื่อซับน้ำได้ไหม
25. การช่วยตัวเอง
26. การลอกแบบ
27. ใช้แล้วทิ้ง
28. เปลี่ยนทดแทนระบบเชิงกล
29. ใช้ระบบควบคุมด้วยลมอัดหรือน้ำมันอัด
30. แผ่นฟิล์มยืดหยุ่นหรือแผ่นเยื่อบาง
31. ใช้วัสดุที่เป็นรูพรุน
32. การเปลี่ยนสี
33. ความเป็นเนื้อเดียวกัน
34. คัดชิ้นส่วนออกและฟื้นฟูสภาพชิ้นส่วน
35. การแปลงคุณสมบัติ
36. การเปลี่ยนสถานะ
37. การขยายตัวเนื่องจากความร้อน
38. เติมออกซิเจนอย่างรวดเร็ว
39. สภาพแวดล้อมที่เฉื่อย
40. วัสดุผสม

โดย Trizit B - พฤหัสบดี, 7 ตุลาคม 2010, 08:45AM
  TRIZ เครื่องมื่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมฯ

วันที่ 14 - 15 ตุลาคม 2553 ณ ห้องเบญจพร ชั้น 4 โรงแรมรอยัล เบญจา

ถนนสุขุมวิท (ซ.5) กรุงเทพฯ

หลักการและเหตุผล

เนื่องจากปัจจุบัน โลกมีการเปิดเสรีทางการค้าจึงส่งผลให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ การที่บริษัทจะอยู่รอดทั้งในเวทีการค้าระดับประเทศและระดับโลกได้นั้น นอกจากจะต้องมีระบบการจัดการที่ดีแล้ว บริษัทยังจำเป็นที่จะต้องพัฒนาบุคลากรให้มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่หน้างานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

TRIZ ซึ่งแปลว่าทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้น (Theory of Inventive Problem Solving) เป็น เครื่องมือการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม : เพื่อการปรับปรุงกระบวนการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ถ้าอุตสาหกรรมในประเทศไทยได้นำเอาเครื่องมือการแก้ปัญหาTRIZ มาใช้ก็จะมีประโยชน์ในแง่ของการไม่เสียเวลา คือผู้ผลิตไม่จำเป็นจะต้องมาลองถูกลองผิด เราก็สามารถใช้ความรู้และความสำเร็จจากบุคคลอื่นมาต่อยอดช่วยขยายแนวความคิดอื่นต่อไปได้

สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม เพื่อการปรับปรุงแก้ไขพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างเป็นระบบ อีกทั้งผู้ประกอบการทางภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานต่างๆ ให้ความสนใจและต้องการส่งเจ้าหน้าที่ในส่วนงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ เข้าอบรมหลักสูตรดังกล่าวนี้อย่างต่อเนื่อง จึงจัดให้มีหลักสูตรการอบรมเรื่อง “TRIZ เครื่องมือการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม: เพื่อการปรับปรุงกระบวนการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ”รุ่นที่ 4 ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจส่งเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรของบริษัทเข้ารับการอบรมหลักสูตร TRIZ เพื่อให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำเทคนิคต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงแก้ไขพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาดอย่างเป็นระบบ และทำให้เกิดประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจองค์ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎี TRIZในฐานะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การปรับปรุงกระบวนการผลิต และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้เทคนิคของการนำ TRIZ ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ และเพื่อเป็นแนวทางในการค้นหาคำตอบในการพัฒนาหรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์ใหม่ ตลอดจนการแก้ปัญหาด้านการจัดการโรงงาน

3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำไปปรับใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนในกระบวนการผลิต โดยการแก้ไขพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตลาดต้องการ เพื่อนำไปสู่การสร้างผลกำไรให้กับบริษัท


วัน เวลา และสถานที่

วันพฤหัสบดีที่ 14 และวันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2553 เวลา 08:30 – 16:30น. ณ โรงแรมรอยัล เบญจา ถนนสุขุมวิท (ซ.5) กรุงเทพฯ

วิทยากร

ผศ.ไตรสิทธิ์ เบญจบุณยสิทธิ์ สถาบันทริซประเทศไทย (TRIZ Institute Thailand)

อัตราค่าลงทะเบียน (ราคานี้รวมค่าเอกสารประกอบการบรรยาย ค่าอาหาร และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ราคาสมาชิก ส.อ.ท. 3,800.00บาท/ท่าน (ยอดก่อน VAT 7% = 3,551.40 + VAT 7% = 248.60)

ราคาบุคคลทั่วไป 4,300.00 บาท/ท่าน (ยอดก่อน VAT 7% = 4,018.69 + VAT 7% = 281.31)

**หมายเหตุ :กรณี “ยกเลิก”ต้องแจ้งก่อนล่วงหน้า 3 วันทำการอบรม (หากพ้นกำหนดต้องชำระค่าลงทะเบียน 50%)

รายละเอียดการชำระเงิน / โอนเงิน

ชำระเงินสด หรือเช็คสั่งจ่ายในนาม “สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย” ที่งานการเงิน โซนซี ชั้น 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่

โอนเงินเข้าบัญชี “สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย” เลขที่ 009 - 1 - 70874 - 5 ธนาคารกรุงไทย สาขาศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บัญชีออมทรัพย์ พร้อมส่ง FAX ใบ PAY IN

ระบุรายชื่อ ที่อยู่บริษัท และชื่อหลักสูตร มายังโทรสารหมายเลข 0-2345-1237



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณขัตติยา ขันธจิตร์ หรือ คุณจิราวรรณ เดียขุนทด สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (โทรศัพท์: 0-2345-1237-8 โทรสาร: 0-2345-1237, 0-2345-1279)

Download ใบสมัครได้ที่: www.fti.or.th; http://ftiweb.off.fti.or.th/research/

E-mail: kattiyak@off.fti.or.th/ kattiya21@gmail.com

หมดเขตการรับสมัครวันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม 2553

หน้า: (หน้าก่อน)   1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18 ...110   (ต่อไป)