ตอบ: ยตร�ยบ: ยกร’ร�รกยกรฉยปร‘ยญร�ร’ยทร’ยงร ยทยคยนร”ยคยทร•รจร ยกร”ยดยขร–รฉยนรฃยนยบรฉร’ยน ยตร�ยนยทร•รจ 4. ยชรจร�ร�ร�ยนร�ยกร”ยนร�
โดย ?? ?? - อังคาร, 8 สิงหาคม 2006, 04:41PM
  ขออภัยไม่รู้ว่าแก้ปัญหาผมออกนอกเรื่องหรือเข้าเรื่องหรือไม่  แต่สงสารน้องเขา ก็ขอเสนอวิธีที่ผมเคยใช้ได้ผลอยู่นะครับ ไม่แน่ใจว่าใช้ได้กับทุกคนหรือไม่ก็โปรดพิจารณา (ก็อยากเข้ามาศึกษา Triz เหมือนกัน จะได้รู้หลักการที่ถูกต้อง แต่ผมอยู่ ตจว. สู่ค่าใช้จ่ายไม่ไหวทั้งค่าอบรมและที่พัก ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีโอกาส หรือช่องทางจะหารายได้จากความรู้นี้โดยตรง แต่สนใจมากๆ เผื่อวันข้างหน้าครับ)

ตอนลูกผมอายุใกล้เคียงกับในรูป ก็ใช้ยาน้ำก็ไม่มีปัญหา พอเจอยาเม็ด ตอนนั้นเขาพอจะฟังรู้เรื่องบ้างแล้ว ค่อยๆบอกก่อนว่า ขมเป็นยาให้อดทน  แม้นมันจะขมและกลืนยากเล็กน้อย เมื่อดืมน้ำตามก็หายกินแล้วจะหายขม อาการ...ได้หายไวๆ  เชื่อว่าหนูทำได้เหมือนผู้ใหญ่ หนูลองดูนะแล้วจะได้หายมาวิ่งเล่นได้  (การกินเป็นเม็ดที่ไม่โตเกินไปกลืนทีเดียวก็จบดีกว่า ขมน้อยกว่าเป็นผงที่ติดลิ้น หรือแบ่งทรมานหลายที ให้กินไม่โดยต้องหลอก แต่เตรียมขนมที่เขาชอบไว้แก้ แทน บอกเหตุผลที่เป็นจริงเขาจะเชื่อเราเสมอ) เมื่อเขายอมกินเองในครั้งแรก ก้รีบตบรางวัล ตามเขาชอบพอควร และชมเขาต่อหน้าคนอื่นว่าน้องยอมกินยาตามที่คุณหมอจัดให้เก่ง หลังจากนั้นก็ไม่มีปัญหาเรื่องกินยาอีกเลย

ไม่รู้ว่าจะเหมือนมีงานวิจัยในต่างประเทศหรือเปล่าก็ไม่รู้ว่ายาฉีดที่หมดฉีดแรงๆ หายไวกว่ายากิน แม้นมีระดับยาในเลือดเท่ากันก็ตาม น่าจะเป็นเหตุผลทางจิตวิทยามากกว่า

(ผมเชื่อว่าคงไม่มีหลักการใดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทุกเรื่อง แม้จะแก้ปัญหาเดียวกันก็ตาม และเชื่อเองว่าการแก้ปัญหาของบุคคลที่มีสภาพจิตมาเกี่ยวข้องมันซับซ้อนกว่าการแก้ปัญหาของเครื่องจักรละมัง ถ้าได้เรียนรู้แล้วผมอาจรู้ว่าคิดผิดหรือไม่หนอ)