ขอเชิญร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Contemporary TRIZ for Product Planning & Development”
โดย Trizit B - ศุกร์, 14 กรกฎาคม 2006, 05:12AM
 

 

ขอเชิญร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ

 “Contemporary TRIZ for Product Planning & Development”

จัดโดย  ฝ่ายการศึกษาและฝึกอบรม  สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

โดยความร่วมมือของ   มหาวิทยาลัยซันโน  ประเทศญี่ปุ่น

และ  สมาคมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ญี่ปุ่น-ไทย (JTECS)

 

หลักการและเหตุผล

TRIZ เป็นคำย่อในภาษารัสเซียของทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้น (Theory of Inventive Problem Solving)  คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียชื่อ  Genrich Altshuller เมื่อปี ค.ศ. 1946 โดยการค้นคว้าและวิเคราะห์สิทธิบัตรต่างๆ  กว่า 2 ล้านฉบับ  พัฒนาขึ้นมาเป็นเครื่องมือและฐานความรู้ต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาทางเทคนิคซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และการปรับปรุงกระบวนการผลิต

            ภายหลังการล่มสลายของระบบสังคมนิยมในรัสเซีย  องค์ความรู้ของ TRIZ ได้ถูกเผยแพร่เข้าไปสู่ยุโรปและอเมริกา  มีบริษัทใหญ่ๆ  เช่น GM , Ford , Boeing, etc  นำไปใช้เป็นจำนวนมาก  และต่อมาได้ถูกเผยแพร่เข้าสู่เอเชียโดยมีหลายๆประเทศได้นำ TRIZ ไปใช้ เช่น  ญี่ปุ่น เกาหลี  จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย  และเวียดนาม เป็นต้น

            ญี่ปุ่นเริ่มนำ TRIZ เข้ามาเผยแพร่ในปี 1997 และมีการจัด TRIZ Symposium  ครั้งแรกในปี 2005 
มหาวิทยาลัยซันโนได้ทำการถ่ายทอดเทคนิคของ
TRIZ เข้าสู่ญี่ปุ่น  โดยมีการจัดฝึกอบรม  ให้บริการที่ปรึกษาและจัดทำซอฟต์แวร์เพื่อการแก้ปัญหาตามแนวทางของ TRIZ ขึ้น

            สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)  ได้มองเห็นความสำคัญของ TRIZ ในฐานะที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยในเวทีการค้าโลก   จึงได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ TRIZ จากมหาวิทยาลัยซันโน ประเทศญี่ปุ่นมาเปิดคอร์สอบรมด้าน Classical TRIZ  และ  Contemporary TRIZ  อย่างต่อเนื่อง   ซึ่งได้รับความสนใจจากสมาชิกและภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี       ในปีนี้  สมาคมฯ จึงได้วางแผนเชิญผู้เชี่ยวชาญ TRIZ จากมหาวิทยาลัยซันโน มาอีกครั้งหนึ่ง โดยจะมาบรรยายในเรื่อง Contemporary TRIZ  for Product Planning and Development 

 

วัตถุประสงค์

1.       ได้รับแนวคิด  เทคนิควิธีการและองค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับ TRIZ

2.       ได้เรียนรู้วิธีการประยุกต์ใช้ TRIZ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และการปรับปรุงกระบวนการผลิต  ตลอดจนนำไปใช้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ

หัวข้ออบรม

I.   Introduction to the Contemporary TRIZ                                 

1.      Definition of Some TRIZ terms

2.      Six premises of the Contemporary TRIZ

3.      Structure of the Contemporary TRIZ

4.      A sample steps of using Contemporary TRIZ for Product Planning
and Development

5.      Differences between traditional future prediction methods
and TRIZ planning

II. Contemporary TRIZ for Product Planning and Development

Stage 1          Understanding the basic functions of the future product

Stage 2          Analysis of the Market

Stage 3          Analysis of evolutionary resources                

Stage 4          Writing scenarios of the systems evolution

Stage 5          Problem Solving to realize the future product

 

 

กำหนดการอบรม

วันที่  26 – 29  กันยายน  2549   รวม  4  วัน  

  ห้องอบรม  สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น)   พัฒนาการ 18

 

 

 วิทยากรและผู้เชี่ยวชาญ

1.      Mr. Kurosawa    Shinsuke          TRIZ   Specialist certified by TRIZ  Master,

          Senior Director, TRIZ Promotion Section, The SANNO Institute of
          Management, Japan

2.     ผศ.ไตรสิทธิ์   เบญจบุณยสิทธิ์                         ผู้เชี่ยวชาญ   สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

3.     ดร.พงศ์ศักดิ์   วิวรรธนะเดช                  เมธีส่งเสริมนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

 

 

อัตราค่าลงทะเบียน       (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

  สมาชิก ส.ส.ท. ท่านละ  8,000 บาท          ไม่ใช่สมาชิก ส.ส.ท. ท่านละ  9,000 บาท

  ลดพิเศษ 10%  สำหรับท่านที่สมัครและชำระเงิน  ก่อนวันที่ 20  สิงหาคม  2549

 

 

ชำระค่าลงทะเบียน

สั่งจ่ายเช็คในนาม  “สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)”

ชำระผ่านบัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)”

Œ ธนาคารกรุงเทพ               สาขาสุขุมวิท 43          เลขที่บัญชี 172-0-23923-3

 ธนาคารไทยพาณิชย์          สาขาบางกะปิ             เลขที่บัญชี 009-2-23325-3

Ž ธนาคารกรุงไทย               สาขาพัฒนาการ          เลขที่บัญชี 064-1-11613-6

หมายเหตุ : เนื่องจากสมาคมฯ เสียเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)  จึงมิได้อยู่ในข่ายที่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย  ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 ข้อ 8(2) และ ข้อ 12/1(2) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 310-8-00067-5

 

 

วิธีการสมัคร

กรอกใบสมัครเป็นภาษาอังกฤษ ส่งทางโทรสาร 0 2719 9482-3

เมื่อสมาคมฯได้รับใบสมัครแล้ว จะแจ้งรายละเอียดของเอกสารที่ต้องส่งแนบใบสมัครเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายการศึกษาและฝึกอบรม   โทร. 0 2717 3000-29 ต่อ 751 คุณจารุวดี,   
       ต่อ 736  คุณอิ่มทิพ
    หรือ  email : jaruwadee@tpa.or.th

 

 

สมัครด่วน!   รับจำนวนจำกัดเพียง  40 ท่าน   เท่านั้น

 ผู้ส่งหลักฐานครบถ้วนก่อน จะได้รับการพิจารณาก่อน